It doesn’t have to be crazy at work 🔥

Review / Writing

“อย่าทำงานจนเป็นบ้า รักษาชีวิตไว้ในระยะยาว”

It Doesn’t Have to Be Crazy at Work 

เขียนโดย Jason Fried ผู้ก่อตั้งบริษัท Basecamp เราเคยฟังสัมภาษณ์เขาพูดไว้ว่า

“No is a liberating word.  Whenever you say no to something. You gain time.” – Jason Fried 🍉

Jason Fried เป็น advocate ในเรื่อง remote working และสภาพแวดล้อมและสภาวะการทำงานพอดีจนไม่เป็นบ้า ไม่มีการนอนดึกหรือสิงสถิตอยู่ที่ทำงานยาวนานนานเกินไป ไม่มีใครทำงานล่วงเวลา สนับสนุนให้ทุกคนไปเที่ยว เรียนรู้สิ่งใหม่ที่ไม่เกี่ยวกับงานก็ได้ รักษาสุขภาพไว้เพื่อจะได้ทำงานกันนานๆ (แน่นอนไม่ได้ใช้ได้กับทุกบริษัท ทุกอุตสาหกรรม)
  • อย่าทำงานจนเป็นบ้า การนอนไม่พอแม้คุณไม่รู้ตัว แต่คนอื่นรอบตัวสังเกตได้ ควรพักผ่อนและนอนให้พอดี รักษาคุณภาพของงานไว้ให้ได้ รักษาชีวิตของตัวเองไว้ ความยุ่งเกินเหตุ การไม่ได้นอน ความเหนื่อยล้ายาวนาน ไม่ควรเป็น badge of honor แต่เป็น mark of stupidity มากกว่า
  • หากบริษัทคือผลิตภัณฑ์หนึ่ง เราต้องถามตัวเองว่า มันใช้งานได้ง่ายรึเปล่ากับคนที่ทำงานที่นี่ อะไรเป็น bug อะไรทำให้มันช้าและไม่ได้ผลเท่าที่ควร อะไรที่เราซ่อมได้เลย อะไรที่ต้องรอ
  • วัฒนธรรมของคนบ้างาน Workaholic ติดต่อกันได้ง่ายมาก เมื่อเราเห็นคนอื่นทำงานหนักจนชีวิตจะหาไม่ คนรอบตัวก็จะรู้สึกเครียดไปด้วยว่าที่เราทำไปไม่พอเหรอ ซึ่งนั่นไม่ใช่ calm environment
  • นอกจาก to do list เราต้องสร้าง to don’t list หรือ “สิ่งที่เราจะไม่ทำ” ก็สำคัญพอกัน
  • คำว่า “ได้”  พูดง่าย แต่ทำให้ชีวิตยาก คำว่า “ไม่” พูดยาก แต่ทำให้ชีวิตง่าย การบอกว่า “yes later” เราแค่สัญญาไปก่อนแต่ทำไม่ได้ก็นำมาซึ่งความเครียด เราต้องตัดใจให้ได้ว่าเออไม่ทำ ของที่คิดว่ารอไม่ได้ อาจจะรอได้ก็ได้ ไม่มีการทำงานในเสาร์อาทิตย์
  • หากไอเดียดีแต่มาที่หลังก็ต้องรอไปก่อน และการเพิ่มงานนั้นหมายถึง deadline ต้องขยับปรับตามด้วย
  • ผลิตผล (productive) ไม่สำคัญเท่าประสิทธิผล (effective)  เราไม่ต้องทำหลายมากๆ อย่างก็ได้ใน 1 วัน เราไม่ใช่เครื่องจักร ไม่ต้องเก็บแต้ม to do list เลือกทำแต่สิ่งที่จำเป็นและสำคัญ สิ่งที่ไม่สำคัญ
  • ทำไมเราไปทำงานที่ทำงานแล้วไม่ค่อยได้งาน นั่นเพราะวันได้ถูกแบ่งเสี้ยวออกเป็นหลายส่วนๆ แต่งานที่ดีต้องใช้การโฟกัสแบบไม่มีใครรบกวน เราไม่ควรจะรบกวนเวลาทำงานโดยไม่จำเป็น
  • บางอย่างที่ทำแล้วไม่ได้ผลก็ต้องตัดใจ เลิกทำให้ได้ อย่าคิดอะไรขึ้นมาแล้วก็ต้องติดอยู่กับสิ่งนั้นตลอดไป
  • เราอาจไม่ได้เขียนประวัติศาสตร์โลกใหม่ แต่ไม่เป็นไร เราต้องเลิกคิดจะเปลี่ยนโลก มันสร้างภาระและความหนักใจให้กับเราและคนรอบตัวเรา เราแค่ยุติธรรมกับลูกค้า พนักงาน สร้างเป้าหมายบนหลักความเป็นจริง โฟกัสในสิ่งที่สำคัญ สร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่ดี สร้างความประทับใจดีๆ ทำตรงหน้าให้ดี

  • หากใครลอกเรา เขาลอกได้แค่ผลลัพธ์ ไม่ใช่กระบวนการ วิธีการคิด และลอกอันที่เรายังไม่ได้ทำไม่ได้ เขาไม่รู้ว่าเราจะทำอะไรต่อ ดังนั้นอย่าอาวรณ์ เราต้อง move on และไปต่อ
  • การรับสมัครคนทำงาน จะให้เขาลองทำงานนั้นจริงๆ โดยให้เวลา 1 สัปดาห์และให้เงินด้วย อย่าเชื่อใน resume และพอร์ตฟอลิโอเท่าเมื่อคนนั้นได้ทำงานจริงๆ อย่าหลงเชื่อในสถานศึกษาที่ดูดี pedigree หรือเกรด หรือบริษัทที่ผ่านมาฟังดูดี สุดท้ายเขาทำงานที่มอบหมายได้หรือไม่ สำคัญที่สุด
  • ไม่มีการต้องต่อรองเงินเดือน ทุกคนที่ตำแหน่ง  ทักษะและหน้าที่เท่ากัน ควรได้เงินเดือนเท่ากัน ไม่มีความเหลื่อมลํ้าเพียงเพราะบางคนต่อรองเก่งกว่า (แต่เขาก็มีกำไรมากพอที่จะให้เงินเดือนในฐาน top 10% ของ industry โดย base ที่ san francisco)
  • เมื่อมีคนออกไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร เขาควรได้เขียนจดหมายลาด้วยตนเองพร้อมเหตุผลที่ชัดเจน เพราะเหตุผลที่ไปพูดกันต่อเองนั้นมักจะยิ่งใหญ่เกินเลยจากเรื่องจริงไปมาก ต้องเคลียร์ให้ชัด
  • เขาแบ่งการทำงานออกเป็นรอบละ 6 สัปดาห์ สลับช่วงพัก pitch ไอเดียใหม่อีก 2 สัปดาห์
  • การพรีเซนต์ไอเดียใหม่ๆ เกิดขึ้นโดยการเขียนเล่าไอเดีย ทุกคนจะได้อ่านเมื่อพร้อมอ่าน และค่อยให้ feedback ที่ผ่านการคิดไตร่ตรองมาก่อน ไม่ต้องรีบให้ความเห็นเลย และไม่ต้องมาประชุมรวมกันก็ได้
  • ซอยโปรเจ็คให้ย่อยพอที่จะเป็นงานกลุ่ม 3 คนคือกำลังดีที่สุด (ในบริบทเขาคือ developer 2 คน designer 1 คน) มากกว่านี้คือจะเกิดความเกรงใจ ตัดการสื่อสารโดยไม่จำเป็น ไม่ต้องมีประชุมใหญ่ก็คุยกันได้โดนตรงเลย
  • การทำงานมีฤดูกาล ช่วงฤดูร้อนทำงานสี่วัน 32 ชม. และมักเป็นโปรเจ็คเบาๆ ช่วงฤดูหนาวจะทำโปรเจ็คที่ยากและท้าทาย
  • การทำแบบสำรวจใดใด การทำเทสต์ ความสงสัยว่ามันเวิคไหม จะหายไปเหมือนเรา ship ผลิตภัณฑ์ที่โอเคออกไปสู่ market เมื่อผู้ใช้ได้ใช้งานในสภาพแวดล้อมจริง นั่นแหละที่เราจะรู้ว่ามันเวิคไหม
  • อย่าเป็นบริษัทที่พยายามสร้างความเป็นครอบครัวขึ้นมาในที่ทำงาน แทนที่จะให้คนที่ทำงานกลับบ้านไปหาครอบครัวตัวเอง  อย่าเชื่อว่าเขาจะปกป้องเราเสมอไม่ว่าเกิดอะไรขึ้น สุดท้ายบริษัทก็ต้องปกป้องผลประโยชน์ของตัวเองสำคัญที่สุดเพื่ออยู่รอด
  • ผังแบบ Open plan นั้นประหยัดแต่ทำให้เกิดเสียงรบกวน ได้รู้เรื่องที่ไม่ต้องรู้มากมายที่เป็น noise ที่ทำงานของ basecamp นั้นถูกทำให้เหมือนห้องสมุด คือเงียบงัน และจะคุยกับใครต้องเกรงใจ ขออนุญาตก่อน หรือทำงานแบบ remote ก็ทำได้
  • อย่ายอมให้ emotional value การกล่าวอ้างทางจิตใจและจิตวิญญาณมามีอำนาจเหนือ rational interest ของเรา
  • เราไม่รู้หรอกว่าอุตสาหกรรมและโลกจะหน้าตาเป็นอย่างไร 1ปี / 5 ปี / 10 ปีข้างหน้า และมันไม่เป็นไร อย่าต้องเครียดกังวลเพียงเพราะไม่เป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้แบบไม่รู้เพราะมโนทุกทักขึ้นมา แล้วก็ stick ตามแผนโดยไร้สติ วางแผนล่วงหน้าให้ดำเนินได้ แต่ไม่ยาวเกินไป จนทำให้ติดอยู่ใน trap ที่สร้างขึ้นมาเอง เกิดความเครียดว่าทำตามแผนไม่ได้ทั้งที่แผนอาจจะไม่เวิค
  • บางบริษัทนั้นวิ่งไล่ตามการเติบโตมากจนยอมแลกกับทุกสิ่ง สำหรับที่ basecamp นั้น การรักษา balance ให้ได้กำไรสำคัญมาก บริษัทที่ติดเลขแดง ไม่ว่าเติบโตขนาดไหน ก็นำความหวั่นประหม่ามาให้คนภายใน ทุกคนเตรียม CV ไว้
  • การสร้างบริษัทที่ sustainable ที่พนักงานมีความสุข มีสุขภาวะที่ดี สามารถรักษาคนที่มีประสิทธิภาพไว้ได้ โดยมีกำไรที่พอจะทำให้ทุกคนทำงานโดยไม่ตาย นั้นสำคัญมากกว่าการวิ่งไล่ตามค่าเลขบางอย่างเช่น market share
  • เราไม่สามารถนำวิธีการทำงานของที่ไหนมาตัดแปะและใช้ได้ทันทีกับที่ของเรา ไม่ว่าเราจะไปอ่านบทความวิธีการทำงานของแอปเปิ้ล กูเกิ้ลมาอย่างไร สุดท้ายเราก็ต้องปรับให้เข้าบริบทของเราเอง
  • เพื่อกันข้อมูลที่รบกวนในแชทโดยที่ไม่จำเป็น ทุกทีมจะเขียน Heartbeat หรือข้อสรุปของทีมตัวเองให้คนอื่นในบริษัทอ่านทุกเดือน เพื่อคนนอกจะได้รู้แต่ประเด็นที่สำคัญ ไม่จำเป็นต้องติดตามทุกห้องแชทตลอดเวลาเรียลไทม์จนไม่ได้ทำงานที่สำคัญ บางเรื่องไม่ต้องรู้ก็ได้
  • Start Up นั้นไม่ได้เหนื่อยที่สุดวันแรก การรักษาบริษัทให้อยู่รอดยาวได้นั้นเหนื่อยและยากเย็นกว่าเยอะ
เหมาะกับคนที่กำลังสงสัยว่าเราทำงานมากไปรึเปล่า เราแลกกับทุกสิ่งเพื่องานไปไหม กำลังคิดว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะทำให้งานพอดีกับชีวิตเรา ช้าลง นิ่งลง มีสติมากขึ้น มีระบบมากขึ้นแต่ไม่มากจนแผนทำให้เรากังวล

เพื่อการดำรงอยู่รอดในระยะยาว ไม่ทำงานที่รักจนกลายเป็นงานที่เราเกลียด