Memory & Attention Decay: การดับสลายจากการความทรงจำและความสนใจ

Others

บทความนี้ Maths shows how we lose interest จาก Nature เล่าถึงงานวิจัย The universal decay of collective memory and attention ความกร่อนสลายของความทรงจำและความสนใจในผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม เช่น เพลง หนัง งานวิจัย หรือชีวประวัตินักเล่นกีฬาเทนนิส  เราต่างรู้ว่าทุกอย่างมีเวลาของการเสื่อมสลาย เมื่อผู้คนเลิกสนใจ เมื่อคนพูดถึงน้อยลงเรื่อยๆ ก็ดับจางไป แต่เดิมเราอาจคิดว่าการเสื่อมสลายของความสนใจจะเป็นกราฟชันลงเรียบๆ ค่อยๆ จางไปจากความทรงจำ แต่เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมาก ดูการ citation หรือการอ้างอิงเอ่ยถึง กลับพบว่าการดับสลายมี 2 ระลอก 

The Universal Decay of Human Collective Memory

1.  Communicative Memory ความทรงจำของการถูกพูดถึง อันไหนที่ฮิตก็จะถูกพูดถึงเยอะก่อนจางไป ความทรงจำนี้สั้นแต่เข้มข้น

2. Cultural Memory ความทรงจำของสิ่งบันทึก เช่นสิ่งพิมพ์ ที่จะอยู่นานกว่าความทรงจำผ่านการถูกพูดถึงหรืออยู่ในกระแส แบบนี้จางแต่กลับเสื่อมหายช้ากว่า

ในบรรดา Cultural Products จำนวนมากที่ถูกหยิบมาวิเคราะห์หาแนวโน้มของการถูกอ้างอิงเมื่อเวลาผ่านไป  เพลงนั้นมีอายุความทรงจำสั้นที่สุดคือประมาณ 5.6 ปีเท่านั้น (เสื่อมสลายไวที่สุด) แต่ชีวประวัตินักกีฬาดังมีอายุนานถึง 20-30 ปี (แต่ขณะเดียวกัน เพลงนั้นก็ถูกฝังรากในสมองเรายาวนานที่สุด ถูกนำมาใช้บำบัดผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ปลุกผู้ป่วยทางสมองให้ขยับเคลื่อนไหวมีชีวิตอีกครั้ง)

สิ่งที่ชอบของบทความนี้คือการนำบทกวีของ Pablo Neruda อันกล่าวว่า ‘ความรักนั้นแสนสั้น แต่การลืมนั้นยาวนาน’ / ‘Love is so short, and forgetting so long’

นอกจากบทกวีมาผนวกเล่าเรื่องเพื่อเพื่อรสโรแมนติกให้งานวิจัย ผู้เขียนยังเล่าถึงนิยายบทหนึ่งในนิยาย Sum ของ David Eagleman เรื่องสั้นบทหนึ่งจำลองชีวิตหลังความตายว่าเมื่อเราตายไป เราจะนั่งรออยู่ที่ลอบบี้เหมือนสนามบินอันไม่มีที่สิ้นสุด เมื่อคนบนโลกลืมหมด เราถึงจะตายได้จริงๆ คนดังมากๆ อาจจะอยู่รอนานหน่อย ก่อนจะเลือนหายไปจากความทรงจำทางวัฒนธรรมของโลก

ส่วนตัวชอบ Quote ‘ครึ่งชีวิตของความรักนั้นยาวนานตลอดไป’  / ‘The halflife of love is forever.’ —Junot Díaz

อ่านเพิ่มเติม: https://www.media.mit.edu/projects/temporal-scales-in-human-collective-forgetting/overview/