on conquering the nature and false pride

Essays / Writing
Image from page 192 of “Mount Everest, the reconnaissance, 1921” (1922) Library of Congress

ผู้พิชิตเขาเอเวอเรสต์ลงรูปตัวเองพิชิตยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก โบกธงไปมาอย่างภาคภูมิใจ หยิบรูปคนรักขึ้นไปด้วย ในความเป็นจริง พวกเขาส่วนใหญ่ถึงยอดเขาได้โดยมีผู้ช่วยแบกหามและนำทาง คือชาวชนเผ่า Sherpa พวกเขาแบกของ แบกถังอ็อกซิเจน ทำอาหาร เตรียม basecamp ผูกเชือกให้ปีน กางเต๊น ช่วยดึง ช่วยผลัก จนคนไปถึงยอดได้


Sherpa มีสรีระพิเศษ ปอดใหญ่เพราะอาศัยในแถบหิมาลัยที่อากาศเบาบางมาหลายชั่วอายุคน เดินเขาวันละหลายชั่วโมง มีโรงเรียนฝึกไกด์ให้ช่วยชีวิตคนได้ แต่เขาไม่ใช่ superman พวกเขาคือมนุษย์ที่ไม่มีทางเลือกมาก ทุกซีซั่นการปีนเขาพวกเขาต้องหายไปจากบ้าน 4 เดือนอยู่ในเขาสูงอันตราย ทำเพื่อเก็บเงินไปทำอย่างอื่น


การเป็น Sherpa นำทางเสี่ยงอันตรายมาก พวกเขาเสี่ยงกว่าคนที่จ่ายเงินไปปีนหลายเท่า มีอัตราการตายสูง แต่ต้องพวกทำ คนทั่วโลกที่ไม่มีประสบการณ์อยากถึงยอด ใช้เงินช่วยลดความเสี่ยง ลดภาระ แต่ทุกคนอาจภูมิใจในตัวเองที่พิชิตยอดได้ แต่ Sherpa คือเบื้องหลังความสำเร็จนี้ที่มักไม่ถูกพูดถึง


ในประวัติศาสตร์การปีน มีคนตายไปประมาณ 200 กว่าและศพส่วนใหญ่ยังอยู่ที่นั่นเพราะ logistics มันเอาลงมายากื ร่างกาย 80 กิโลจะกลายเป็น 150 โลเมื่อแข็ง แถมจะผนึกติดกับหิมะต้องขุดออกมา ทุกกิจกรรมที่ใช้แรงเสี่ยงอันตราย เพราะหากแรงหมดจะลงมาไม่ได้ ใน death zone ที่อากาศเหลือเพียง 33% เปอร์เซ็นต์ อะไรก็เกิดขึ้นได้ การหล่นล้มเพียงครั้งอาจทำให้ชีวิตฉิบหาย


มีชื่อเรียกอาการที่เรียกว่า summit fever อาการไข้ของการใคร่ไปถึงยอด เมื่อผู้อยากพิชิตตัดสินใจอย่างไม่มีเหตุผล ไม่รู้ลิมิต ยอมเสี่ยงทุกอย่างเพราะจะถึงยอดแล้วอีกนิดเดียว
ยอดเขาเอเวอเรสต์จึงกลายเป็น openground ฝังศพสาธารณะ ศพแช่แข็งมาตั้งแต่ปี 1924 ของ george mallory ยังเพิ่งถูกค้นพบในปี 1999 คนบางคนเผลอนั่งพักแล้วไม่ได้ลุกขึ้นมาอีกเลย เมื่อคนขึ้นไปมาก มีขยะมากมายจากนักท่องเที่ยว บางศพได้กลายเป็น landmark ให้คนที่ไปปีนได้รู้ซึ้งถึงความเสี่ยง จนต้องมี big cleaning ซึ่ง sherpa ต้องเสี่ยงชีวิคขึ้นไปเพื่อเก็บขยะ


มีคนบอกว่า สิ่งที่ทำยากกว่าพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ในสมัยนี้ คือพิชิตยอดเขาโดยที่ไม่ต้องประกาศให้โลกรู้ คนที่จะไปปีนเขาสูงที่อันตราย ควรรู้ความเสี่ยง ฟิตร่างกายให้แข็งแรงที่สุด รู้ลิมิตตัวเอง ยอมแพ้ถ้าไม่พร้อม และต่อให้เก่งแค่ไหนหายนะทางธรรมชาติก็เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อเมื่ออ็อกซิเจนน้อย และมีพายุหิมะ หิมะถล่มได้ทุกเมื่อ


บางคนฟิตมาหลายเดือน เก็บเงินหลายปี ลำบากหลายวัน ไม่อยากจะพลาดโอกาสที่จะสำเร็จอะไรสักอย่าง เพื่อฆ่าเช็คลิสต์ที่มีติดค้างในใจ


โลกก็เป็นเช่นนี้ไม่ใช่เหรอ หากวันใดที่คุณขึ้นถึงยอดเขาได้ จงระลึกกว่าจะถึงยอดมีคนช่วยเรา เสี่ยงแทนเรา และลำบากแทนเรา บางครั้งเราจ่ายเพื่อลดความเสี่ยง ให้คนที่โชคร้ายกว่าที่เขาเลือกไม่ได้ ในฐานปิระมิดของชนชั้น ความสำเร็จไม่เคยเป็นของเราคนเดียว
คนส่วนมากที่ปีนเอเวอเรสต์ตายตอนลง เพราะเขาทุ่มเทแรงทั้งหมดเพื่อจะขึ้นไปบนนั้นให้ได้ แต่ไม่ได้เผื่อแรงตอนลง ⛰

George Mallory (midden, met cirkel rond het hoofd) en andere leden van de Engelse expeditie die in 1924 als eerste de top van de Mount Everest wilde bereiken. Mallory verloor zijn leven bij de expeditie.


ภาพ: George Mallory ผู้พยายามพิชิตยอดเขาคนแรกในปี 1924 และตายลงคนแรกด้วย ร่างของเขาถูกพบในปี 1999 ฝังอยู่หิมะ สีขาวโพลนเพราะถูกฟอกด้วยแสงแดดหลายสิบปี ในยุคเขาเทคโนโลยีและวัสดุการปีนเขาคือแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะรอดชีวิต ที่ศพไม่มีกล้องภาพถ่าย จึงเป็นที่ถกเถียงว่าเขาตายตอนลงมาหรือไม่ แต่สำหรับบางคน การลงมาได้โดยมีชีวิตคือการพิชิตเขาได้แท้จริง