
Because Internet – Gretchen McCulloch ว่าด้วยภาษาศาสตร์บนโลกอินเตอร์เน็ต
ภาษานั้นเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวตลอดเวลา แต่อินเตอร์เน็ตช่วยบันทึกข้อมูลและเป็นพยานหลักฐานให้กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับการสื่อสารแบบ casual แบบภาษาพูด
การย้ายกลุ่ม ย้ายที่อยู่ เปลี่ยนที่ทำงาน ย้ายทำให้เราเปลี่ยนวัฒนธรรมและคำที่เราใช้ ทำงานคนละอาชีพก็มีคำถนัดใช้ต่างกัน
ภาษาไม่ใช่กฎตายตัวแต่คือ network ที่เชื่อมเราไว้ อินเตอร์เน็ตทำให้เรา expose ภาษาของคนแปลกหน้า คำใหม่ๆ เลยเกิดดับและกระจายตัวได้อย่างรวดเร็ว ถ้าเราอยู่กับคนกลุ่มเดิมที่เขาใช้คำเหมือนๆ เรา เราก็จะไม่ได้ใช้คำใหม่ๆ
หนังสือไล่วิธีการสื่อสารบนเน็ตของเรา ตั้งแต่การพยายาม express อารมณ์เพื่อสื่อสารผ่านคีย์บอร์ดที่จำกัด เ ช่ น
- ก า ร เ ค า ะ แ บ บ นี้ เ พื่ อ ใ ห้ น่ า ส น ใ จ
- การใส่สัญลักษณ์ฟรุ้งฟริ้ง (っ◔◡◔)っ ♥ angel ♥
- ภาษาคำทักทายที่คุยในเมล
- คำว่า LOL จากยุคขำจริงสู่ประชดกลายเป็น LOLOLOLOL หรือการพิมพ์ตัวติดๆกัน
- การเติมพยัญชนะ เช่น yessss , okayyyyyy yaayyyy เพื่อ soften ประโยคให้เบาลงไม่ห้วนเกินไป casual มนุษย์ก็หาวิธีพิมพ์ไปเรื่อยๆ เพื่อสื่อสารความรู้สึกที่ออกเสียงหรือแสดงออกทางร่างกายไม่ได้
- การมีอีโมจิ gif stickers ช่วยลดทอนความจริงจังลงได้มาก 😛 55
กระทั่งยุควัฒนธรรมมีมที่เปลี่ยนไปตามยุค เด็กรุ่นใหม่อาจไม่รู้จัก LOLCats หรือ Kilroy was here สักกะนิด มีมได้เติบโตไปสู่คนยุคใหม่ๆ ที่ไม่รู้จักหรือไม่ได้สนใจกับออริจินของมีม และแต่ละวัยก็มี definition ของตัวเอง
ผู้เขียนเป็นนักภาษาศาสตร์อินเตอร์เน็ต เธอได้แบ่งรุ่นคนในเน็ตได้น่าสนใจ
🌊 First Wave
- Old Internet People คนอินเตอร์เน็ตยุคก่อนปี 2000 เข้าเว็บไซต์ผ่านการจำ URL คนเหล่านี้ผูกมิตรคนแปลกหน้าผ่านกลุ่มชุมชนที่สนใจเรื่องเดียวกัน (ARPANET, Usenet, BBS) ไม่ได้ใช้ไว้เพื่อคุยกับเพื่อนในชีวิตจริงเพราะคนรอบตัวไม่มีใครเล่น คนทันยุคนี้ Are you On Line? แปลว่า คุณเคยเล่นเน็ตไหม On Line บางคนอาจเล่นเน็ตจากที่ทำงานหรือมหาวิทยาลัยเพราะยังไม่แพร่หลาย
🌊 Second Wave
- Full Internet คนเล่นเน็ตเต็มขั้น คนที่อยู่ในวัยรุ่นช่วงปี ปลาย 90s – 2000 ต้นๆ คนกลุ่มนี้ไม่ต้องโค้ดเองเท่าไหร่ พวกเขาใช้เน็ตเพื่อคุยกับเพื่อนในชีวิตจริง เช่น MSN AIM เริ่มใช้บริการเวบไซต์โฮสต์ต่างๆ เช่น Xanga LiveJournal Myspace ยุคนี้แสลงในเน็ตเริ่มเบ่งบาน ภาษาเน็ตคือภาษาที่วัยรุ่นไว้คุยกันโดยให้พ่อแม่ไม่เข้าใจ
- Semi Internet คนเล่นเน็ตนิดหน่อยใช้เพื่อทำงานหรือส่งเมล คนกลุ่มนี้คนทีที่เล่นเน็ตพร้อมหลังกลุ่มก่อนหน้าแต่ไม่อิน พวกเขาเลยเน้นคุยกับคนรู้จักเป็นหลักเท่านั้น
🌊 Third Wave
- Pre Internet คนที่อยู่โดยไม่มีเน็ตมาตลอด รับรู้การมีอยู่ของเน็ต แต่ก็อยู่มาได้โดยไม่ต้องใช้ จนถึงวันที่ทุกคนเล่น พวกเขาเลยต้องใช้บ้าง พวกเขาเลยพกวิธีการสื่อสาร สมัย offline มาใช้กับออนไลน์ด้วย เช่นการพิมพ์ . . . . . & วิธีเว้นวรรคแปลกๆ
- Post Internet People คือคนที่จดจำช่วงวัยที่ไม่มีเน็ตไม่ได้อีกแล้ว พวกเขา hang out ในเน็ตเป็นเรื่องปกติ มีหลายแพลตฟอร์มที่แยกตัวตนออกเป็นหลายแบบ มีแอคหลุม และตัวตนหลายชั้น การโพสต์เป็นเนื้อเพลงเพื่อสื่อสารอ้อมๆ ถึงความรู้สึกกับเพื่อนบางคนแต่หลบเลี่ยงผู้ปกครองคอยสอดส่อง
คนในยุคแรกเริ่มอาจใช้เน็ตเพื่อพบคนแปลกหน้าผ่านประเด็นที่สนใจร่วมกัน แต่บางคนก็แค่อยากหาที่แฮงก์เอาต์ระหว่างคนที่รู้จักกันอยู่แล้ว วัยรุ่น hangout ในเน็ตเหมือนคนยุคก่อนแฮงก์เอาต์กันที่ห้างสรรพสินค้า
ดังที่ dana boyd กล่าวไว้ว่า”วัยรุ่นไม่ได้เสพติดเน็ต พวกเขาเสพติดกันและกันต่างหาก” 😘
การแอดใครสักคนเป็นเพื่อนเหมือนการเอาเขามาอยู่ในบริบทที่ทำให้เราทักทายกันได้แบบไม่ต้องวางแผนไว้ก่อนเหมือนเดินผ่านในโถงทางเดินโรงเรียน เราสามารถเข้าไปร่วมบทสนทนาที่เกิดขึ้นได้ หรือพฤติกรรมการตั้งสเตตัสลอยๆ โพสต์คำคม หรือเนื้อเพลง รอให้คนที่ตรงเป้าหมายมาทักทายพูดคุย เรียกร้องให้เกิดปฏิสัมพันธ์ต่อกันเพื่อสานสัมพันธ์