How To Speak Machine – John Maeda

Review

How to Speak Machine – John Maeda

หนังสือว่าด้วยการชวนให้นักออกแบบและคนทั่วไปนอกวงการเทคเข้าใจเห็นภาพการคิดแบบ Computational Thinking เข้าใจการทำงานของเทคโนโลยีว่าคอมพิวเตอร์มันคิดอย่างไร  พาไปย้อนประวัติศาสตร์ของ Computer อันนำมาสู่ computation thinking

เพื่อให้เห็นศักยภาพและความเป็นไปได้ของคอมพิวเตอร์ กระทั่งการคิดแบบ exponential thinking ก็อาจจะเป็นอุปสรรคและไม่เป็นธรรมชาติกับการรับรู้และการคิดของมนุษย์เราจึงประเมินสถานการณ์ผิดพลาด

Maeda ได้สรุปประเภทการออกแบบเป็น 3 ชนิด

แบบแรกคือ classical design

คือนักออกแบบสายออกแบบรุ่นบุกเบิกที่เราคุ้นเคย มี ideology ของความคลีนเรียบนิ่ง เหนือกาลเวลา

เบ่งบานมาจากการปฎิวัติอุตสาหกรรม และวิธีคิดแบบ Bauhuas จงสร้างสิ่งของที่มีคุณค่า ทนทานต่อกาลเวลา ผลิตภัณฑ์ งานกราฟิก งานที่เห็นจับต้องได้เป็นชิ้นเป็นอัน มีสัดส่วนสมบูรณ์แบบ ใช้ทักษะฝีมือและสายตาที่แม่นยำฝึกฝน ต้องเป๊ะ ต้องเพอร์เฟค มีหนึ่งชิ้นที่ดีสำหรับมวลชน ถูกขับเคลื่อนด้วยความปรารถนาจะสร้าง masterpiece ที่เหนือต่อกาลเวลา มักสไตล์ที่มาแรง เป็นเทรนด์ และสไตล์ที่ค่อยๆ จางหายไปตามกาลเวลา คนนอกวงการอาจไม่เก็ทเลย

แบบที่สองคือ design thinking

คือวิชาคิดแบบออกแบบ ที่มาพร้อมกับยุคสมัยที่เกิดความเปลี่ยนแปลง โลกต้องการนวัตกรรม วิชา design thinking จึงเป็นการหาทางออกใหม่ๆ ให้กับปัญหาใหม่ๆ ใช้ผู้ใช้เป็นศูนย์กลาง ประสบการณ์สำคัญกว่าหน้าตา

เริ่มแตกกลุ่มก้อนคนใช้ออกเป็นหลากหลาย นำ Empathy ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ตามกลุ่มเป้าหมายมาใช้ในการออกแบบ มักไป integrate กับสาขาอื่นๆ

แบบที่สามคือ computational design

คือการออกแบบเพื่อคนจำนวนมหาศาลการออกแบบโดยคิดระบบและทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ การทำอัตโนมัติ และ AI / Machine Learning

โดยแต่ละผู้ใช้อาจได้ประสบการณ์ไม่เหมือนกันเลย คือการคิดแบบมีสเกล มี variation บางครั้งงานที่ออกไปสู่โลกก็ยังไม่เสร็จเพราะต้องมี feedback และ input จากผู้ใช้มาช่วย complete และเกิดความหลากหลาย และเปลี่ยนแปลงตามบริบทแต่ละคนแบบ real time เวลาเราซื้อของแต่ละคนเห็น ads คนละตัว / หรือ facebook แต่ละคนอินเตอร์เฟสต่างกันโดยสิ้นเชิง

เราอาจจะออกแบบส่วนประกอบ จากนั้นก็ให้ machine รันเพื่อเทสจำนวนกี่แบบก็ได้และหาแนวโน้มเพื่อปรับปรุงต่อไป สิ่งนี้ทำให้นักออกแบบสายดั้งเดิมสะเทือนใจเพราะการปล่อยของที่ยังไม่เสร็จและไม่แน่ใจไปสัมผัสประชาชน

Machine หรือคอมพิวเตอร์ทำงานไม่เคยเหนื่อยล้า สั่งให้ลูปวนซ้ำหน้าที่เดิมได้เรื่อยๆๆ ไม่หยุดหย่อน ถนัดงานซ้ำปริมาณมหาศาล แถมหากป้อนข้อมูลให้ก็สอนตัวเองได้ด้วย ทำงานได้ในสเกลใหญ่ แตกความเป็นไปได้ไม่สิ้นสุด มนุษย์และนักออกแบบจะอยู่ตรงไหนในวงจร แต่หนังสือเล่มนี้ก็ไม่ได้ตอบเท่าไหร่ ทิ้งไว้ให้คิดต่อ แต่เราควรจะมีฐานคิดเข้าใจกลไกเพื่อจะเข้าคิดกลไกให้เครื่องจักรช่วยเหลือเรา

สรุป

คนที่พอเข้าใจการทำงานของคอมพิวเตอร์อยู่แล้ว หากคุ้นเคยการทำงานโปรแกรมมิ่งพอสมควร เข้าใจการทำงานของอัลกอริทึ่ม และการทำงานอัตโนมัติ สามารถข้ามไปได้เลย เพราะอาจรู้อยู่แล้ว เล่มนี้อาจจะนำเสนอแนวคิดที่ obvious เกินไป

ยกเว้นกำลังหาวิธีอธิบายให้กับคนที่ไม่เข้าใจอยู่ ใช้คำและ narrative ที่เรียบง่ายอธิายของที่ยาก ซับซ้อน จับต้องไม่ได้ อย่างการทำงานของระบบปัญญาประดิษญ์ สำหรับเราอ่านแล้วก็เพลินดีเหมือนได้ทวนสิ่งที่พอรู้แล้วใหม่ โดยรวมก็เพลินดี

คนที่อยากเข้าใจการทำงานของคอมพิวเตอร์ นึกไม่ออกและสงสัย ฉงนใจ และหวาดหวั่นเกรงจะถูก Disrupt ก็จะเหมาะกับหนังสือเล่มนี้