ช่วงนี้สงสัยเรื่องกระแสสตรีนิยม Feminism ที่คนพูดถึงกันบ่อยๆ เลยไปฟัง Roxane Gay – Confessions of a bad feminist แล้วชอบ
เราเลยไปซื้อหนังสือ Bad Feminist มาอ่านต่อ รวมเรียงความของนาง เขียนสนุกมากๆ ว่าด้วยการเป็นเฟมินิสต์ที่แย่ ยังดีไม่พอ โดยที่ผู้เขียนได้ขยายไปสู่ประเด็นอื่นๆ ด้วย เช่น Race รูปร่าง สำรวจหนัง หนังสือจำนวนมาก รวมถึงวิจารณ์กระแสเฟมินิสม์สาย capitalism
- ก่อนอื่นคือ ต้องเข้าใจก่อนว่า “ความเคลื่อนไหวเฟมินิสต์” มีหลากหลายแขนงมาก มีร่มใหญ่ มีหลายยุค หลายกลุ่ม แต่ละประเทศก็คุยกันต่างไป มีหลายแนวคิด หลาก school of thoughts จนไม่แน่ใจว่าสิ่งที่เราเข้าใจนั้นถูกต้องครบถ้วนไหม
- คำนี้ที่เราเข้าใจกับที่คนอื่นเข้าใจนั้นตรงกันไหม มีอะไรที่เราพลาดไปไหม รวมถึงชีวิตประจำวันที่เรามี สำรวจสิ่งที่เราเลือก วิธีคิดและปฏิบัติของเรา ดีพอสำหรับมาตรฐานที่จะเรียกตัวเองว่าเฟมินิสต์หรือยัง
เราต่างถูกจัดประเภทตั้งแต่แรกที่เราลืมตาขึ้นมาบนโลกนี้ ไม่ว่าจะโดยเพศสภาพ เชื้อชาติ ขนาด สีผม สีของดวงตา ยิ่งเราโตเราก็ยิ่งถูกแปะป้าย ถูกจัดประเภท
Roxane Gay
- ในเรียงความ Peculiar Benefits ว่าด้วยการระวัง Oppression Olympic Game คือแนวคิดที่เรามาน้่งจัดลำดับเปรียบเทียบแข่งขันว่าใครถูกกดทับกว่ากัน ทุกคนที่เกิดมาใน setting ต่างกัน ย่อมมีประสบการณ์ชีวิตและความคาดหวังจากสังคมต่างกัน เราถูกจำกัดอยู่ในร่างที่เราหลีกหนีให้พ้นหายไปไม่ได้ และเราต่างลำบากต่อสู้กับชีวิตไม่ว่างทางใดก็ทางหนึ่ง
- มันไม่ก่ออะไรเลยที่จะมาเถียงกันว่าใครถูกกดทับมากกว่า ใครชนะในการเปรียบเทียบระหว่างคนขาวที่จนกับคนดำที่รวย ถ้าเทียบหญิงเม็กซิกันมีอันจะกินกับผู้ชายขาวที่เป็น LGBTQ ชนชั้นแรงงานล่ะ เราสามารถเล่นเกมนี้ได้ทั้งวันโดยไม่พบชนะ คนจำนวนมากโดยเฉพาะในโลก developed world ต่างมีสิทธิประโยชน์กว่าคนอื่นบนโลกนี้ไม่มากก็น้อย
- การคุยกันเรื่อง privilege ควรจะเป็นข้อสังเกต การรับทราบ มากกว่าการกล่าวหาและด่าทอ แต่การที่เราสังเกตเห็น Privilege ของคนอื่นไม่ได้ทำให้สิ่งที่เขาพูด invalid หมดความหมาย เรารู้จักและเข้าใจสิทธิประโยชน์ของตัวเองเพื่อเรียนรู้ว่ามีคนบนโลกที่ไม่สะดวกเท่าเรา เรารับทราบเพื่อเข้าใจบริบทของผู้พูด อย่าลืมว่าชีวิตนั้นยากสำหรับทุกคน และคนที่เราคิดว่ามี privilege ก็อาจมีสิ่งที่เขา struggle อยู่เหมือนกัน
- เราคงจะอยู่ในโลกที่เงียบเชียบ หากคนที่สามารถจะเขียนหรือพูดได้แค่จากประสบการณ์ที่เขาผ่านมา หรือพูดคุยเรื่องความแตกต่างได้แค่เมื่อเขามีชีวิตโดยปราศจากสิทธิประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น
- ว่าด้วย Privilege ของเธอ Gay โตมาในครอบครัวที่ค่อนข้าง Upper Middle Class ได้เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย และเข้าใจดีถึงสิทธิประโยชน์ของตนเอง เธอมีนักเรียนจำนวนมากที่ได้เป็นคนในครอบครัวรุ่นแรกที่เรียนมหาลัย พ่อแม่ไม่สามารถจะเตรียมพร้อมพวกเขากับชีวิตมหาลัยได้เหมือนครอบครัวชนชั้นกลางค่อนสูงอีกจำนวนมาก
- ว่าด้วยร่างกาย รูปร่าง และความอ้วน เธอเล่าถึงประสบการณ์การไปเข้าค่ายฤดูร้อนสำหรับวัยรุ่นอ้วน และความรู้สึกอับอายในร่างอวบอ้วนของตนเอง คนมักสงสัยว่า ทำไมเธอฉลาดแล้วถึงยังรักษาร่างกายให้ผอมเพรียวไม่ได้ เธอไม่คิดว่าเคยเจอผู้หญิงที่ไม่เกลียดตัวเองและร่างกายของเธอเลยสักส่วนเดียว ความหมกมุ่นในร่างกายคือข้อจำกัดในความเป็นมนุษย์เพราะเราหนีไปจากร่างนี้ให้พ้นเสียมิได้
- ว่าด้วย Triggers และ Trauma เราต่างมีประวัติศาสตร์ที่ต่างให้เราคิดว่าหลุดพ้นจากอดีตของเราแล้ว คุณอาจจะคิดว่าอดีตคืออดีต แต่เมื่อบางอย่างเกิดขึ้น เราก็ระลึกได้ว่าเรายังติดบ่วงอดีตไม่หลุดพ้น อดีตจะอยู่กับเราเสมอแม้ผู้คนจำนวนมากจะอยากถูกปกป้องจากความจริงข้อนี้ เราทุกคนมีอดีตที่แฝงกายอยู่ใต้ผิวหนัง ดูภายนอกไม่มีรอยแผลอะไร ไม่มีทางที่คนอื่นจะรู้เลยว่าใครเคยผ่านอะไรแย่ๆ ในชีวิตมาและยังถูกฝังไว้ภายใต้อดีตนั้น
- ว่าด้วย Prince Charming ในนิยายปรัมปรา ตัวละครเจ้าชายรูปงามในนิยายปรัมปราที่มักจะไม่มีนิสัยหรือรายละเอียดอะไรที่น่าสนใจเท่าไหร่ เจ้าชายมักจะหล่อเหลา สูงศักดิ์ แต่ปราศจากรายละเอียดของบุคลิกภาพ รสนิยม ไม่ได้แสดงความฉลาดเท่าไหร่นัก ผู้หญิงมักเป็นคนต้องจ่ายแพงกว่าเสมอในนวนิยายแฟรี่เทล Fairy Tales ต้องการอะไรมากมายเหลือเกินจากเจ้าหญิงที่จะต้องพิสูจน์ตัวเองว่ามีค่าพอจะเป็นที่รัก เพื่อจะเป็นเจ้าหญิงที่ดี เป็นผู้หญิงที่ควรค่า ส่วน Prince Charming แค่หล่อ มีเสน่ห์ และสูงศักดิ์ก็เพียงพอแล้ว? แต่เธอก็อยากจะเชื่อว่ามีตอนจบ Happy Ending สำหรับทุกคน
I enjoy fairy tales because I need to believe, despite my cynicism, that there is a happy ending for everyone, especially me. The older I get, though, the more I realize how fairy tales demand a great deal from the woman. The man in most fairy tales, Prince Charming in all his iterations, really isn’t that interesting. In most fairy tales, he is blandly attractive and rarely seems to demonstrate much personality, taste, or intelligence. We’re supposed to believe this is totally fine because he is Prince Charming. His charm is supposedly enough.
Roxane Gay
- ว่าด้วยการเป็น Unlikeable Women ผู้หญิงจำนวนมากรู้สึกว่าน่าเย้ายวนใจมากที่จะเป็นผู้หญิงที่ผู้ชายต้องการ เช่น ชอบสิ่งที่เขาจะชอบ หรือไม่เคยบ่น ผู้หญิงที่ Unlikeable ปฎิเสธที่ความเย้ายวนนั้น และเลือกจะเป็นตัวเอง และยอมรับผลจากการเลือกของตัวเอง และสิ่งที่ตามมามักคือเรื่องราวที่ควรค่าแก่การอ่าน
- มีเรียงความซึ่งวิพากษ์หนัง ซีรีส์ หนังสือเยอะเรื่องมากกก จำนวนมากเรายังไม่ได้ดู ทั้ง Girls, Django Unchained, The Help, Teen Chick Lit, This is how you lose her – Junot Diaz, 12 Years A Slave, Orange is the new black ซึ่งนวนิยายคือพื้นที่ที่เราจะไม่สมบูรณ์แบบ มีตัวละครที่เหยียดเพศ หรือไม่เขข้าใจสังคมที่เขาอยู่ แต่หากเราไม่สามารถจะผิดพลาดได้แม้ในเรื่องแต่ง คงไม่เหลือพื้นที่บนโลกที่เราจะเป็นมนุษย์ได้ แต่อย่างไรก็ได้ เราควรจะใส่ใจในการสร้างสิ่งที่ดีกว่า มากกว่าแค่ถูกต้อง น่าสนใจ หรือตลกก็เพียงพอแล้ว แค่โลกดีขึ้นแล้วไม่ได้แปลว่าดีพอ และผู้หญิงควรหยุดจะเรียกร้อง
- เธออยากดูซีรีส์ชื่อ Grown Women ว่าด้วยกลุ่มเพื่อนวัยทำงานที่มีการงานที่ดี จ่ายบิลล์ครบในเวลา ไม่มีเงินเก็บเท่าไหร่ และยังต้องมีชีวิตรักที่ไม่ดีมากนัก และเผชิญกับอาการเมาค้างในเช้าวันจันทร์ แต่โชว์นี้ยังไม่มีอยู่จริง
- ความสองมาตรฐานในกระบวนการยุติธรรมที่มีต่อคนผิวสี ปรากฏการณ์เด็กหนุ่มอย่าง Dzhokhar Tsarnaev ผู้ก่อโศกนาฏกรรมระเบิดที่บอสตันมาราธอนร่วมกับพี่ชาย ต่อให้เป็นผู้ก่อการร้าย แต่ด้วยหน้าตาผิวพรรณที่ดูเป็นคนขาวทั่วไป เพื่อนเขายังพร้อมจะปกว่าเขาเป็นวัยรุ่นทั่วไปผู้เผลอไปก่อการร้ายตามพี่ชาย จนได้เป็นปกนิตยสาร Rollingstone เปรียบเทียบกับ Trayvon Martin เหยื่อผู้ถูกยิงตายขณะที่เดินอยู่และปราศจากอาวุธที่ต้องพยายามพิสูจน์ว่าเขาไม่เป็นภัยร้ายต่อสังคมทั้งที่เขาเป็นเหยื่อ แสดงให้เห็นความสองมาตรฐาน ดังคำกล่าวที่ว่า. “Only in America can a dead black boy go on trial for his own murder.” – Syreeta McFadden
- วิพากษ์แนวคิดเฟมินิสต์แบบ Sheryl Sandberg ผู้เขียนหนังสือ Lean In ว่าด้วยการเป็นผู้หญิงในที่ทำงาน ว่าด้วย imposter syndrome หรืออุปสรรคในการทำงานของผู้หญิง ผู้หญิงจำนวนมากไม่มั่นใจจะแสวงประโบชน์หากไม่มั่นใจในความสามารถตนเอง หรือเลือกโอกาสความก้าวหน้าในหน้าที่การงานหากเธอไม่มั่นใจจริงๆ แต่ Sandberd ก็เขียนในมุมที่เป็น Gender Binary มากๆ จนถูกเรียกว่าเป็น Heteronomative ผู้หญิงจะสำเร็จต้องมีลักษณะที่พึงประสงค์แบบผู้ชาย เช่น ความมั่นใจ กล้าเสี่ยง หรือมีความกล้าฟาดฟัน ซึ่งหนังสือ Lean In ก็ถูกวิจารณ์อย่างมาก เธอคือผู้หญิงที่ประสบความสำเร็จ มีหุ้นในทั้ง Facebook และ Google เธอประสบความสำเร็จในทุกทาง มีการศึกษาและครอบครัวที่ดี จึงบอกบทเรียนให้ผู้หญิง ใมนกรอบที่ผู้หญิงที่สำเร็จคือสำเร็จทั้งงานและสำเร็จในครอบครัว มีลูก และแต่งงาน แต่คำแนะนำของเธออาจใช้ไม่ได้กลุ่ม demographic audience คนผิวสี คนยากจน หรือชนชั้นแรงงาน แต่ก็น่าสนใจว่า Sandberg ต้องรับผิดชอบต่อกลุ่มคนที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายที่เธอจะพูดด้วยหรือไม่ หากหนังสือไม่ตอบโจทย์ทุกคน ผู้เขียนต้องรับผิดชอบหรือมาตรฐานเฟมินิสต์นั้นสูงเกินไปไหม?
- หลายครั้งที่ Feminist นั้นไม่เป็นไปตามที่โลกความคาดหวัง มีข้อบกพร่อวง เรามักมองว่าปัญหาอยู่ที่ความเคลื่อนไหวที่มีปัญหา มิใช่คนที่อ้างการกระทำตัวเองในนามของความเคลื่อนไหวนี้ ความเคลื่อนไหวนี้มันหลากหลายและ organic มากๆ เพราะมันเกิดขึ้นจาก setting อันหลากหลายทั่วโลก ซึ่งมี condition ที่หลากหลาย จึงไม่มีใครเป็นผู้นำที่เป็นผู้แทนหนึ่งเดียว
- หากสรุปใจความสำคัญแล้ว Feminists are just women who don’t want to be treated like shit และการเป็นเฟมินิสต์ที่แย่ ไม่สมบูรณ์แบบ อาจจะดีกว่าไม่เป็นเลย หากเชื่อในหลักคิดนี้ ใครก็น่าจะเป็น feminist ได้
ถึงกระนั้น การที่โลกดีขึ้นจากแต่ก่อน ไม่ได้แปลว่า แค่นี้ก็ดีพอแล้ว ไม่ต้องเรียกร้องหาความเท่าเทียมอะไรอีก
เธอเคยเข้าใจผิดมหันต์ว่าการเป็นเฟมินิสต์ = คนโกรธเกรี้ยว สุภาพสตรีผู้เป็นเหยื่อที่เกลียดผู้ชาย คนที่รังเกียจการมีเซ็กซ์ แต่ตัวเธอเองที่เข้าใจผิดไป และอับอายกับความไม่รู้ของตัวเองในสมัยก่อน กลัวการถูกเกลียด คำเย้ยหยันจนไม่กล้าเรียกตัวเองว่าเฟมินิสต์
เราอ่าน Non-Fiction มาเยอะในหลายปีที่ผ่านมา ปีนี้ เริ่มกลับมาอ่าน Fiction แบบช้าๆ พอพักมาอ่าน Essay บ้างก็ดี Roxane Gay เป็นคนที่เขียนสนุก มีอรรถรส ขมขื่น หรือเสียดสีบ้างตามทาง โดยรวมชอบมากเลย อ่านเพลิน จบไวมาก ชวนให้สำรวจประเด็นสังคมต่างๆ ในมุมเล็กๆ ผ่านหนัง หนังสือ หรือ popular culture เหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งค่อนข้างจะเป็น US Centric หน่อย แต่ก็เพลินดี
ที่หนังสือชื่อว่า Bad Feminist เกิดจากผู้เขียนรู้สึกเสมอว่าตัวเองไม่เคยเป็นเฟมินิสต์ที่ดีพอ และเหมือนผู้หญิงอีกจำนวนมากที่ไม่กล้าเรียกตัวเองว่า ‘เฟมินิสต์’ เพราะมีมาตรฐานศีลธรรมและไกด์ไลน์การใช้ชีวิตที่สูงเหลือเกิน ตัวเธอชอบอ่านนิตยสารโว้กมาก รักสีชมพู และสบายใจหากจะไม่เข้าใจกลไกของรถยนต์แม้จะเป็นสเตอริโอไทป์ของเพศหญิงว่าโง่เรื่องเครื่องจักรและยานพาหนะ
เล่มนี้ช่วยคลี่คลายให้ได้เห็นความหลากหลายของประเด็น feminism ในน้ำเสียงที่เป็นมิตร สนุก ชวนหัวเราะ เหมือนเพื่อนชวนคุย ต่อให้ไม่เห็นด้วยก็แลกเปลี่ยนกันได้ และบางอย่างก็ไม่เข้าใจหรือมีประสบการณ์ร่วม หยิบประเด็นที่กว้างใหญ่นี้มาคุยในดีเทลเล็กๆ น้อยๆ ทำให้เราเข้าใจมากขึ้นผ่ารข้อสังเกตและวิธีเขียนที่สนุก 🙂
If you’re reading to find friends, you’re in deep trouble. We read to find life, in all its possibilities. The relevant question isn’t “Is this a potential friend for me?” but “Is this character alive?”
Roxane Gay
Side Note: