Poverty. Inc.
เห็นมีคนคุยกันมากมายเรื่องช่วยเหลือชาวเขาหรือคนในพื้นที่ห่างไกลอย่างคึกคัก ต้องขอสารภาพเลยว่าเราคือคนเมืองที่รู้จักประเทศไทยนอกกรุงเทพและปริมณฑลน้อยมากกกก จนไม่กล้าออกความเห็นแต่ก็พยายามและอยากเข้าใจ
เมื่อวานเลยไปนั่งดูสารคดี Poverty, Inc. ซึ่งไปสำรวจประเทศเฮติซึ่งได้ความช่วยเหลือต่อเนื่องจนกลายเป็นภาระระยะยาวของประเทศที่กำลังพัฒนา เพราะสร้างภาพจำผิดๆ เกี่ยวกับแอฟริกาและคนยากจน และชี้ให้เห็นอีกมุมขององค์กรไม่แสวงกำไรต่างชาติ (ดูที่ Doc Club On Demand 1.99$ เท่านั้น)


- ตอนเกิดแผ่นดินไหวเฮติ ระบบไฟฟ้าในประเทศพัง ต่างประเทศแห่แหนส่งโซลาร์เซลล์มาให้ชาวเฮติ กลายเป็นบริษัท โซลาร์เซลล์ภายในประเทศเฮติขายไม่ออก สิ่งที่คนนอกประเทศไม่รู้และลืมไป คือจริงๆ เฮติก็มีบริษัทเทคโนโลยีของตัวเอง กลายเป็นขายไม่ออกเลย
- แคมเปญระดมการช่วยเหลือโดยดาราดัง มักจะต้องผลิตภาพของความสงสารอย่างเลี่ยงได้ยาก เช่น เด็กอดอยากมอมแมมแมลงวันตอมเพื่อให้คนเห็นใจและ take action ทันที แต่การทำให้แอฟริกาดูน่าสงสารเกินจริงคือการ Exclude แอฟริกาออกจากตลาดการแข่งขันของโลก เกิดภาพจำว่าคนเขาคิดเองทำเองไม่ได้ คนนอกต้องมาช่วยตลอดเวลา ส่งเงินส่งของไปให้ตลอดไ
- แต่เข้าใจนะว่า การสื่อสารโดยใช้ความสงสาร มัน effective กว่าในเชิง PR คือคนเห็นแล้วมันรู้สึกเลย มัน call to action ทำให้คนสนใจ กับคนทั่วไปได้ไวและกว้าง ก็เลยคิดว่าใช้แล้วเวิคก็ไม่ติด แต่อย่าลืมว่าแลกมากับภาพจำที่ดูน่าสงสารรรร แยกพวกเขาให้ห่างออกไปอีก) ถือว่าทำงานดีมากในการทำให้คนคุยกันมากขึ้น แลกเปลี้ยนกันมากขึ้น

- การช่วยเหลือจากต่างประเทศ (Aid) มักจะมาในรูปแบบของความร่วมมือกับรัฐบาล สุดท้ายผู้ที่ได้ประโยชน์จริงๆ จาก AID คือเจ้าหน้าที่องค์กรต่างชาติ ผู้ย้ายมาอยู่ประเทศโลกที่สาม เงินเดือนดี มีคนใช้ ไม่เสียภาษี บลาๆ บางทีก็เอื้อธุรกิจเจ้าใหญ่ เงินไม่เข้าในระบบมาถึงคนจน การแจกบางทีก็มาพร้อมเงื่อนไขบางอย่าง เช่น อเมริกามาแจกแต่ต้องเอาสินค้าอเมริกามาแจกเท่านั้นนะ หรือซื้อจากเจ้าใหญ่ที่ถือโอกาสระบายสินค้า เกิดเหตุเป็นแบบนี้กับหลายอย่าง เช่น ข้าว รองเท้า ฯล เสื้อผ้ามือสองจากต่างประเทศคือทำให้อุตสาหกรรมปลูกฝ้าย หรือเสื้อผ้าของบางประเทศพังไปเลย (แต่อันนี้ก็แล้วแต่มมุมมอง คนรักโลกก็คิดว่าเป็นทางออกที่ลดการผลิต ลดการทำไร่ฝ้าย ลดการใช้น้ำ ลดการทำลายป่า บลาๆ)
- บางปัญหาที่แท้จริงระดับโครงสร้างตั่งต่าง ยุ่งเหยิง ยิ่งใหญ่ในระดับประเทศ หรือการแก้กฎหมาย องค์กรเหล่านี้มักก็ไม่มายุ่งเพราะไม่อยากมีปัญหาทางการเมืองกับรัฐบาล ทั้งที่บางทีเป็นใจกลางของความยากจน เช่น ปัญหากรรมสิทธิ์ที่ดิน ปัญหา process เอกสารราชการช้า เรื่องเกี่ยวกับการเมือง เกิดภาวะที่องค์กรต่างประเทศและรัฐบาลกลับอุปถัมป์กันไปมา เงินที่ได้มาก็กลับไปลงกับส่วนไม่จำเป็นมากมาย เงินทุนตกไปถึงคนจนน้อยมาก และสร้างภาวะพึ่งพิงความช่วยเหลือต่อเนื่อง
- การแจกของมักมีความไม่ต่อเนื่องหรือไม่แน่นอน ทำให้ธุรกิจรายย่อยท้องถิ่นก็ลำบาก ใครล่ะจะสู้กับของฟรี เช่น สมมติเราทำฟาร์มไก่ ซื้อไก่มาเลี้ยง ขายไข่ อยู่ดีๆ มีโบสถ์ใจดีมาแจกไข่ทุกวัน ผ่านไปไม่นาน กิจการไข่แถวนั้นเลยเจ๊งหมด แล้วอยู่ๆ คนแจกก็เลิกแจกไปเพราะนโยบายไม่ต่อเนื่อง คนแถวนั้นไม่เหลือใครผลิตแล้ว ต้องไปซื้อจากที่อื่นมาอีกทำให้ธุรกิจรายย่อยวางแผนยาก
- บางองค์กรไม่ปรับตัว ไม่รับฟังปัญหาที่แท้จริง อาจแก้ปัญหาไม่ตรงจุด แต่ไม่ได้สอบถามหรือศึกษาชุมชนหรือคนที่ลงไปช่วย
- เช่น อยากช่วยเด็กอดอยากเลยหาเงินมาตั้งบ้านเด็กกำพร้า พอคนแถวนั้นรู้ก็ส่งลูกมา กลายเป็นพ่อแม่ยากจนเลือกส่งลูกมาอยู่ เพราะอยากให้ลูกได้โอกาสที่ดี ได้เรียนหนังสือ ไปต่างประเทศ
- จริงๆ อยากช่วยเหลือเด็กอีกทางคือหางานให้พ่อแม่เด็กทำ ซึ่งเป็นวิธีที่จะ give power back to the parent และอาจจะ sustainable กว่า ช่วยเด็กได้มากกว่าด้วยซ้ำ และพ่อแม่ก็ภูมิใจที่สามารถทำงานจนมีบ้านและสร้างชีวิตที่ดีให้ครอบครัวได้เอง
- องค์กรแนวไม่แจกของดะก็มี เช่น ฝึกช่าง ส่งเสริมอาชีพ ให้ทุนเพื่อให้คนท้องถิ่น set up business ของตัวเอง ช่วยเชื่อมคอนเนคชั่น ช่วยหาตลาดเพื่อ Connect to Global Market ชาวเฮติคนนึงกล่าวว่า “ไม่ต้องให้ปลา สอนเราตกปลาก็ได้ แต่ที่ดีคือให้เบ็ดเราแล้วไปซะ ไม่ใช่อยู่ประคับประคองเรา 40 ปี ทำให้เราพึ่งตัวเองไม่ได้”

- สิ่งที่คนจนต้องการคือไม่ได้อยากเป็นขอทาน ไม่ใช่ความสงสารแต่คือ access — การเข้าถึงตลาดโลก เข้าถึงความรู้ ข้อมูลข่าวสาร อยากได้การเชื่อมต่อ ระบบราชการการอนุญาตที่ไม่ยุ่งยากจนน่ากลัว การมองว่าคนชนบทต้องอยู่แต่บ้านไปและใช้ชีวิตวิถีดั้งเดิมเป็นการผลักไสเขาออกไปจากระบบเศรษฐกิจ เขาต้องการความเชื่อใจและอำนาจการตัดสินใจ ไม่มีใครอยากขอคนอื่นตลอดไป
- คนห่างไกลไม่ใช่สิ่งมีชีวิตแปลกประหลาดอันน่าพิศวง อาจมีดีเทลชีวิตที่ต่างไปตามสภาพแวดล้อม เขาก็เหมือนเราๆ นี่แหละ เขาคิด เขาทำของเขาเองได้ เข้าใจปัญหาท้องถิ่นตัวเองและแก้เองได้ แค่เขาเข้าไม่ถึงสิ่งที่เราเข้าถึงได้เป็นปกติ เช่น ไฟฟ้า อินเตอร์เน็ต โทรศัพท์ ธนาคาร ❤️ และที่สำคัญเขาก็อยากรู้สึกดีที่จะมีพอจนสามารถมอบให้มนุษย์คนอื่น

- เขาเลยยกตัวอย่างที่จะช่วยแก้ปัญหาคนจน เช่น บริการ Microfinance ให้คนจนกู้ได้ในระบบในดอกเบี้ยที่เป็นธรรม เพราะในประเทศกำลังพัฒนา ปัญหาคือเจ้าเล็กพัฒนาเป็นธุรกิจขนาดกลางได้ยากเพราะไม่มีเงินทุน ธนาคารไม่ให้กู้เงิน ไม่มีทรัพย์สินมาค้ำประกัน Process ต่างๆ มักยากเย็นกับเจ้าเล็ก ใช้เวลายาวนานที่จะทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่เรื่องพวกนี้มักจะง่ายมาก ๆ หากมีเส้นรัฐบาล เจ้าหน้าทีรัฐ หรือเป็นธุรกิจเจ้าใหญ่
เขานำเสนอในมุมมองคนยากไร้ไม่ได้อยากอนาถา แบมือขอ เขามองตัวเองเป็นผู้ประกอบการที่อยากพัฒนา อยากกู้ได้ ไม่ได้อยากพอเพียง 555 และย้ำตลอดว่า คนแอฟริกันเท่านั้นที่จะรู้ปัญหาของแอฟริกาและพัฒนาตัวเองได้ – คนทวีผแอฟริกาไม่ได้แตกต่างจากคนทวีปอื่นๆ พวกเขามีความคิดสร้างสรรค์ มีทรัพยากรธรรมชาติ สามารถเป็นผู้ประกอบการเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ อยากเข้าถึงตลาดและคนซื้อ และที่สำคัญ เขาเองก็อยากมีและอยากเป็นผู้ให้เหมือนที่พวกเราอยากให้เขานี่แหละ 🙂
เรื่องนี้ก็ไม่ได้ตรงกับเคสพิวรี่พายขนาดนั้น 555 ข้อคิดสำคัญ สำหรับเราก็คือ การช่วยเหลือต่างๆ เกิดจากความหวังดี ถ้าเกิดภัยพิบัติมนุษย์คงต้องช่วยกันต่อไป และค่อยๆ เรียนรู้กันไปว่าให้อะไร ให้แค่ไหน ให้อย่างไรถึงจะพอด และต่อไปนี้จะให้อะไรใคร จะคิดเยอะๆ คุยกับเขา และถามเขาก่อนว่าต้องการไหม เพราะการให้ของเรา มันอาจเป็นภาระกับเขาได้ในระยะยาว 🙂

—
ประสบการณ์ไปเยี่ยมหมู่บ้านตระ กลางเทือกเขาบรรทัด
ปีที่แล้วได้ทำงานเรื่องความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ได้เห็นสถิติการเข้าไม่ถึงน้ำและไฟฟ้า ห้องน้ำ โทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต ฯลฯ ของเด็ก ซึ่งมันทำให้เขาไม่ได้เรียนหนังสือต่อ นึกภาพว่าทุกตัวเลขมันคือชีวิตของคนที่เขาไม่ได้รับโอกาสที่เราได้ รู้สึกสะพรึงมากๆ
เล่าให้เพื่อนผู้เคยทำงานเป็นหมอที่ต่างจังหวัดฟัง ปลายปี เพื่อนชวนเราไป หมู่บ้านตระ ซึ่งอยู่ในเทือกเขาบรรทัดที่ตรัง มีประเด็นเรื่องที่ดินและป่าไม้เหมือนกัน ชีวิตคนที่นี่คือพึ่งตัวเองหรือลงขันกันในชุมชน ไม่มีน้ำไฟ ถนนตัดเอง สะพานสร้างเอง ไฟก็ไปหาโซลาร์เซลล์มาใช้เอง น้ำก็มาจากลำธาร
พอไปสัมผัสชีวิตในป่า พี่หอยเจ้าบ้านพาเราเดินไปไปน้ำตก ชี้ให้ดูต้นไม้ต่างๆ บอกว่า อะไรกินได้และไม่ได้ ผักก็ปลูกเพราะพืชสวนครัวบ้านเขาก็มีปลูกบ้างไว้รับแขก 555 เราได้กินไข่เจียวแต่มาจากไก่ป่าคนละชนิดกับที่เราคุ้น ส่วนพืชผักเขาก็ไปเก็บมา เจอพืชหลายชนิดที่เราไม่รู้จัก เราได้กินไข่เจียวด้วยนะ 55555 แต่เป็นไข่มาจากไก่คนละชนิดกับที่เรากินในเมือง
ขอบอกก่อนว่าภาคใต้มีแหล่งน้ำค่อนข้างสมบูรณ์ ไม่แล้ง คนประกอบอาชีพทำสวนยางซึ่งมั่นคงประมาณนึง และสามารถหาของป่าได้อุดมสมบูรณ์ ปัญหาน่าจะคนละแบบกับชาวเขาในภาคเหนือ คนที่นี่ยังเชื่อมต่อกับโลกภายนอก นำแผ่นยางขึ้นมอไซออกไปขายตลาดข้างล่าง เก็บออมเงิน เล่น facebook, youtube ตามปกติ
ความลำบากคือชุมชนไม่ถูกยอมรับโดยรัฐ ไม่มีโฉนดที่ดินทั้งที่ชุนชนนี้มีอยู่มาตั้งแต่ยุคปลายอยุธยา ไม่มีโรงเรียนเลยทำให้ต้องลูกหลานไปอยู่ข้างล่าง ไม่มีสถานอนามัยใดใด คนที่แก่ตัวไปก็มักจะลงไปอยู่ข้างล่าง มีสำนักสงฆ์ที่ร้างไปแล้วเพราะไม่มีพระมาอยู่ (คนหมู่บ้านนี้มีทั้งพุทธและมุสลิม) คนจำนวนหนึ่งเลือกย้ายถิ่นฐานออกไปนอกป่าเพื่อหนีความยากลำบาก มีอีกจำนวนยังอยากทำกินที่นี่อยู่ แม้ไม่มีโฉนดที่ดิน บางคนมีบ้านอยู่ข้างล่าง



การไม่มีไฟฟ้าคือชีวิตกลางคืนคือหายไปเลย พอไม่มีไฟฟ้า ปวดฉี่อยากไปเข้าห้องน้ำคือคิดนานมาก เพราะต้องใช้ไฟฉายหัว ฯลฯ สารภาพว่า ตอนที่ไปหมู่บ้านตระ เราก็ตื่นเต้นกับโซลาร์เซลล์มากๆๆ จนแอบอยากซื้อไปมอบให้คนที่นั่นเหมือนกัน คิดมาตลอดแต่ก็แบบไม่แน่ใจเพราะบ้านที่เราไปอาศัย เขาจ้างช่างมาติดเองได้ แต่ก็มีใช้แบบจำกัด ไว้เมื่อจำเป็นเท่านั้น
จุดนี้ เลยแอบเข้าใจพิมรี่ คือสำหรับคนเมืองแบบเรา Solar Cell มันมหัศจรรย์มาก 🥺 รู้สึกว่าเป็นของที่ให้แล้วโอเค 555 เพราะมันแปลงต่อเป็นอะไรได้เยอะมากๆ เราเลยคิดว่าสิ่งพื้นฐานควรมี ถ้าเขามีและจะไม่ใช้ก็เป็นอำนาจการตัดสินใจของเขา จากนั้นหากคนห่างไกลเขาอยากทำอะไร จะมีฝันหรือไม่มี อยากกินไข่เจียวหรือไม่กิน คือเป็นตัดสินใจของเขา
อีกอย่างคือถ้าพิมเขาจะทำต่อเนื่องยาวนาน เกิดเป็นองค์กร บริหารเงินบริจาคร้อยล้านความรับผิดชอบต่อผลที่ตามมาก็คงต่างกัน การตรวจสอบก็ต้องคงตามมา
รายละเอียดอื่นๆ สนุกมากเลย
- โซลาร์เซลล์ที่บ้านพี่หอบยมีคือเขาไว้ดูทีวีและชาร์จมือถือ
- ห้ามงงว่าคนบนป่ามีมือถือไปทำไมเขาใช้ Facebook ไว้คุยกับเพื่อนผอง พออยากฟังเพลงไหนคือรอเวลาลงเขามีเน็ตแล้วเขาจะดาวน์โหลดเก็บไว้
- ติดต่อเขาได้ไงเขาไม่มีเน็ต เขาให้ญาติพี่น้องข้างล่างช่วยประสานให้เพราะพี่เขาไม่มีเน็ต ถ้ามีอะไรฉุกเฉินเช่น สะพานขาด เขาก็ใช้วิทยุสื่อสารกัน ลงขันแรงและลงขันเงินกันซ่อมเอง ฯลฯ ลองคิดว่าถ้ามีเน็ตหรือสัญญาณโทรศัพท์ เขาก็จะสามารถรับนักท่องเที่ยวได้ง่ายขึ้นและเพิ่มรายได้
- ถนนเข้าหมู่บ้านคือลงขันแรงมาทำเอง สะพานข้ามลำธารขาดคือลงขันเงินทำใหม่เอง ขนปูนมาทางมอเตอร์ไซค์ขึ้นเขาที่ชันมาก ฯลฯ ทุกรายละเอียดคือเขาพึ่งตัวเอง และร่วมมือกันในชุมชนเยอะมากเพื่อดำรงชีวิตในป่า ไม่เคยหวังพึ่งรัฐ

