คำเตือน: ยาวกว่าที่จำเป็น 55 แต่เขียนเก็บไว้เดี๋ยวลืม
คือเราไม่ได้เป็นคนรักสัตว์อะไรเลย ไม่สนใจ และไม่มีความรู้ ไม่ร้องไห้เวลาเกิดดราม่าเกี่ยวกับสัตว์ 555+ แต่ๆๆๆ เราอยู่ในยุคที่กำลังจะมีสัตว์สูญพันธุ์มากขึ้นเรื่อยๆ เลยอยากลองอ่านอะไรที่ไกลจากความสนใจของเรา
เราเลยลองอ่านเล่มนี้ Beloved Beasts: Fighting for Life in an Age of Extinction อ่านไปอ่านมาจบใน 1 สัปดาห์ อเมซซิ่งมาก มากๆๆๆ Michelle Nijhuis ผู้เขียนพาเราย้อนไปดูประวัติศาสตร์และวิวัฒนาการการต่อยอดของแนวคิดการอนุรักษ์สัตว์(และป่า)
โลกตะวันตก เริ่มตระหนักได้ตอนไหนกันนะว่า เราต้องอนุรักษ์สัตว์ .. เดิมคนฝั่งตะวันตกก็มองสัตว์เป็นเหมือนทรัพยากรธรรมชาติชนิดหนึ่ง เหมือนป่าไม้ แร่ธาตุ จัดประเภท แสวงหา ล่า ได้มา ค้าขาย เก็บสะสมยามว่าง หรือสร้างงาน สร้างอาชีพกันไป แนวคิดก็ค่อยพัฒนาๆ ไปเรื่อยๆ ที่เริ่มสังเกตว่าประชากรสัตว์ที่หายอย่างรวดเร็ว ได้เห็นวิธีการและแนวคิดการอนุรักษ์ที่หลากหลายมากๆๆๆ จนมาถึงยุคปัจจุบัน
การอนุรักษ์ในยุคแรกเริ่มโดยกลุ่มวงอีลีท นักล่าสัตว์เข้าป่าเพื่อความเพลิดเพลิน เติมเต็มตัวตน ก่อนจะขยายต่อไปยังกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ เดิมเน้นที่พิทักษ์ประเภท Charismatic Species สัตว์ชนิดที่ดูน่าดึงดูด น่าสนใจที่อยู่ในขีดอันตราย จนสาธารณชนเริ่มสนใจการอนุรักษ์สัตว์ที่แสนธรรมดาที่มีดาษดื่นความพิเศษก็สมควรได้รับการคุ้มครองให้มีชีวิตรอดในระบบนิเวศ
โอเค การรักษ์สัตว์ การรักษ์ป่า รักษ์น้ำ รักษา biodiversity ใดใด แต่จริงๆ แล้ววิธีการและหลักคิดมันหลากหลายมากเลย แรกเริ่มเดิมที แนวคิดการอนุรักษ์ในช่วงต้นเลยมี 2 สายหลัก และก็ตีและ bounce กันมาระหว่างทาง
- Utilitarians สายวินๆ อนุรักษ์สัตว์ก็เพื่อคนต้องอยู่อาศัยได้ประโยชน์ด้วย คนสามารถได้ประโยชน์ใช้สอยจากการอนุรักษ์ธรรมชาติอย่างยั่งยืน
- Preservationists สายปกป้องสัตว์และ landscape ธรรมชาติโดยต้องไม่มีมนุษย์เข้าไปปนเปื้อน แปลกปลอม ห้ามรบกวนอย่างสิ้นเชิง
การอนุรักษ์ในยุคแรกเริ่มคือ คนกลุ่มน้อยที่รักธรรมชาติที่อยากปกปักษ์รักษา Wilderness เอาไว้ แต่แนวคิดและวิธีการปฏิบัติก็ค่อยๆ พัฒนา ต่อยอดกันมา จากการสนใจแค่บางสายพันธุ์ เริ่มสนใจเชิงระบบนิเวศ แหล่งอาศัยของสัตว์ การพัฒนาฟื้นฟูผืนป่าดินน้ำ การผลักดันเชิงนโยบายในการใช้สารเคมี มาสู่การจัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศ ไปสู่การ establish วิชาการองค์ความรู้เพื่อศึกษาและวัดผลการอนุรักษ์อย่างจริงจัง เพื่อพัฒนาการอนุรักษ์และวัดผล มาสู่การลงพื้นที่จริงที่ต้อง integrate กับคนพื้นเมืองและเข้าใจความเป็นอยู่ และรับฟังและให้คนท้องถิ่นมีอำนาจในการตัดสินใจในการจัดสรรทรัพยากรของบ้านตัวเอง ซึ่งหนังสือก็ค่อยๆ พาเราผ่านยุค ผ่านแนวคิด จากจุดแรกเริ่มมาถึงปัจจุบัน
- หนังสือเล่มนี้พาเราย้อนไปไกล ตั้งแต่สมัยที่ คาร์ล ลินเนียส เริ่มคิดระบบเรียกชื่อสัตว์ เดิมสัตว์และพืชต่างๆ ไม่มีชื่อสากล พอต่างภาษา ต่างถิ่นก็เรียกพืชชนืดเดียวกันเป็นหลายชื่อ พอรวบรวมไปมาก็คือเยอะมากๆๆ ไม่มีที่สิ้นสุด มีการ assign คนให้แยกย้ายกันไปตามหาตามทวีปในยุคล่าอาณานิคม


- ช่วงต้นศตวรรษที่ 20 คนรักสัตว์ คนรักป่า มักเป็นคนที่ชอบเข้าป่าล่าสัตว์ เก็บไอเท็มแรร์ ล่านก ล่าสัตว์มาสตัฟฟ์เพื่อความเพลิดเพลิน สัตว์ชนิดแรกที่กลายเป็นจุดโฟกัสของการริเริ่มแนวคิดอนุรักษ์คือไบซั่น เดิมมีในทวีปอเมริกาเหนือเป็นล้านๆ ตัววิ่งแหวกทุ่งหญ้าแพรรี่เต็มทวีป เวลาผ่านไป หลังจากถูกล่าอย่างรุนแรงก็ค่อยๆ หายไปหมด William T. Hornaday อดีตนักล่าสัตว์ผันตัวมาเป็นผู้ริเริ่ม American conservation movement
- มุมมองของธรรมชาติในยุคนี้ก็ยังมองว่าคือสถานที่อันสวยงามหมดจด ไม่มีชนพื้นเมืองอยู่ในสมการ แนวคิดยุคนี้ทำให้เกิด National park และเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าต่างๆ ขึ้นมามากมาย ซึ่งแน่นอนว่าการได้มาซึ่งพื้นที่ธรรมชาติแสนหมดจดงดงาม ก็เกิดการปราบปรามไล่คนพื้นเมืองออกไปจากพื้นที่ป่า แถมโทษว่าไบซั่นต้องตายเพราะคนล่าเพื่อการค้า หรือต้องเป็นชาวพื้นเมืองแน่ๆ ทั้งๆที่คนชนเผ่าพื้นเมืองแม่งอยู่ในดินแดนนี้ร่วมกับไบซั่นมาโคตรนานนนน ตัดมาปัจจุยัน ตอนนี้น้องไบซั่นที่ได้เด้งกลับมาหลักหมื่น แม้จะยังไกลจากเดิมที่มีหลักล้านแต่ก็เป็นความสำเร็จของการอนุรักษ์ก่อนจะสายไป


- แต่ชอบมากที่หนังสือนี้ไม่ได้ทำให้ใครเป็นฮีโร่ เพราะนอกจากนี้เขายังได้ก่อตั้ง Bronx Zoo ซึ่งมี Controversial History คือการเอาชาวแอฟริกันพิกมี่ซึ่งตัวเล็กมาอยู่ร่วมกรงกับสัตว์และจัดแสดง คนก็แห่มาดูกันทั้งเมืองมาดูของ exotic พิศดารรรร Human Zoo รุ่นออริจินัล นี่เพิ่งจบบทแรก 555555
- จากนั้น คนอเมริกันและตะวันตกเริ่มตระหนักถึงการสูญพันธุ์สัตว์มากขึ้นแล้ว และมีสัตว์หลากหลายชนิดที่ save ไม่ทันแล้วววว เช่น นกอุคใหญ่แสนอร่อย นกพิราบสื่อสาร ในสมัยนั้น มีสัตว์หลายอย่างที่ดูทั่วไป ไม่แรร์ หาไม่ยาก ดูมีมากมายไม่ต้อง Save คนก็ไม่ได้รักสัตว์ทุกชนิด สัตว์จำพวกเหยี่ยว อินทรีย์ ถือว่าเป็น Predator คนก็รักน้อยหน่อย แถมถูกมองว่าพวกนี้ล่าสัตว์น้อย เป็นภัยธรรมชาติไปอีก เลยกลายเป็นว่า ถ้าฆ่าสัตว์นักล่า สัตว์ในป่าก็จะไม่หายไปไง ดีเสียอีก


- เข้าปี 1920’s ในผู้หญิงนิยมหมวกขนนกเว่อวังทำให้มีนกโดนล่าจำนวนมาก แล้วก็มีเศรษฐินีคนหนึ่งชื่อ Rosalie Edge วัย 50 เข้ามาคลุกคลีกับคอมมูนิตี้รักนก นางก็ได้รับรู้ว่า ประชากรนกกำลังจะหายไป นางเลยไปวีดจี้ถามกลางในที่ประชุมใหญ่ประจำปีของสมาคมรักนก Audobon ว่าทำไมไม่ทำอะไรเลย (เอเนอจี้แบบเฟมทวิต 55) ซึ่งนางก็ไม่รอช้า แก้ปัญหาประสาคนรวย เราเริ่มต้นด้วยตัวเองค่ะ 555 นางก็เลยไปซื้อภูเขาที่เพนซิลเวเนีย ซึ่งเป็นพิกัดที่คนมักชอบไปล่าสัตว์ และได้ก่อตั้งเป็น Hawk Mountain Sanctuary ขึ้นมา เพื่อให้นกมีที่อพยพมาอาศัย และก็จ้างคนดูแลกันไม่ให้คนมาล่านก ผ่านไปแค่เพียงแค่รอบอพยพเดียว จำนวนนกเหยี่ยวก็เพิ่มขึ้นมาก กลายเป็นสถานที่หลบภัยของนกและเป็นแหล่งดูนกสำคัญของทวีปจนทุกวันนี้ถัดมายังเป็นยุคเริ่มต้นที่ตัวเองตามสไตล์อเมริกัน ตามไปสำรวจชีวิตของ Aldo Leopold ผู้เขียนหนังสือ A Sand County Almanac อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ เขาเริ่มอาชีพโดยทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ซึ่งเขาเอาพยายามทดลองหาวิธีใหม่ๆ เอาทฤษฎีที่เรียนมาจากโรงเรียนป่าไม้รุ่นแรกๆ นำมาลองปฏิบัติในการฟื้นฟูที่ดินจริง เขาการคิดระบบอนุรักษ์แหล่งน้ำ เริ่มต้นแนวคิด Wildlife Management อันเป็นต้นกำเนิดการอนุรักษ์ของอเมริกาประสบความสำเร็จมาถึงทุกวันนี้ เขาเริ่มแนวคิดของ Land Ethics เปลี่ยนจากการครอบครองผืนดินมาเป็นดูแลและเข้าใจ มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของระบบนิเวศ และไม่ได้แยกคนออกมาจากธรรมชาติ นอกจากจะเขียนเชิงปรัชญาแล้ว ตัวเขาเองก็ได้ไปซื้อที่ดินว่างรกร้างที่ทำเกษตรกรรมไม่ขึ้นแล้ว (จากภาวะ Dust Bowl ในยุค The Great Depression 1930s) แล้วก็พัฒนาเทคนิคปลูกป่าขึ้นมาใหม่ ทำเป็นงานอดิเรกของครอบครัว ซึ่งต้องปลูกทิ้งขว้างหลายรอบกว่าป่าจะเริ่มกลับมา จนกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ซึ่งของแบบนี้ แม่งพูดง่ายแต่ทำยากมาก เทคนิคต้องเยอะเพราะป่าจริงมันซับซ้อน บางทีต้องลองและทำทิ้งทำขว้างไปเยอะๆ ปรับหน้าดิน
- ต่อไปนี้ ทุกครั้งที่มีเรื่องเล่า สารคดี หรือโฆษณา แนวแบบคนที่ไปเปลี่ยนแปลงที่ดินแห้งแล้งกลับมาเป็นป่า ก็จะนึกถึงคุณ Leopold คนนี้ว่าเป็นคนแรกๆ ที่ได้ทดลอง ซึ่งแนวคิดของ Leopold ก็ยังตกอยู่ในข่าย เราเริ่มต้นที่ตัวเองอยู่ เวลาผ่านมาหลายสิบปี ต้นไม้ที่เขาปลูกในยุคนั้นปัจจุบันก็ยังเจริญสมบูรณ์ดี
- หลังสงครามโลก มาถึงยุค 1960 การอนุรักษ์สัตว์ยังถูกมองแยกเป็นสปีชีส์แยกๆ ไม่มีเจ้าภาพชัดเจนในระบบสากล ทั้งที่สัตว์นั้นอยู่ข้ามพรมแดนประเทศ Julian Huxley ซึ่งได้เริ่มทำงานองค์กร UNESCO เมื่อเขาไปเยือนแอฟริกาก็ได้เห็นสัตว์ถูกล่าจำนวนมาก เขาจึงได้ก่อตั้ง WWF ขึ้นมาโดยรวมรวมนักวิทยาศาสตร์และนักอนุรักษ์วิทยาขึ้นมาเป็น Committee และทำงานอนุรักษ์สัตว์แบบสากล (เกร็ดเล็กน้อยก็คือ Julian Huxley เป็นพี่ชายเป็น Aldous Huxley ผู้เขียน Brave New World และมีปู่เป็นผู้ผลักดันแนวคิดทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ลส์ ดาร์วินในยุคที่ยังไม่แพร่หลาย) เกิด IUCN Red List of Threatened Species ซึ่งได้รวบรวมสายพันธุ์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์
- การบริหารงานของ WWF ก็ยังไม่ได้กระจายอำนาจ คือเชื่อมั่นใน Expert นักวิทยาศาสตร์นำที่ตรงศูนย์กลาง เริ่มทำงานเป็นระบบและเชื่อมต่อกันในระดับนานาชาติ เป็นแบบ Top Down ฝั่ง Local ก็ทำงานตามคำสั่งจากศูนย์บัญชาการไป สายอนุรักษ์ต่างชาตินั้นมองแอฟริกาเป็นสถานที่สวยงามตื่นตาเชิงธรรมชาติสำหรับเยี่ยมชมแต่ไม่ใช่เพื่ออยู่อาศัย นักอนุรักษ์บางคนถึงขั้นคิดว่าชนพื้นเมืองไม่ควรอาศัยอยู่ให้ปนเปื้อนความบริสุทธิ์ของ wilderness เกิดการกีดกันชนพื้นเมืองไม่ให้มาในพื้นที่อนุรักษ์ จนเกิดความขุ่นเคืองมาคุระหว่างกัน จนชาวมาไซฆ่าแรดเพื่อประท้วง Huxley มักจะมองข้ามหรือไม่ให้ค่ากับองค์การกลุ่มอนุรักษ์ท้องถิ่นที่คุ้นเคยกับพื้นที่ และให้ค่ากับความเป็นผู้รู้ของนักวิทยาศาสตร์ข้างบนที่เสนอแนวคิด
- ในช่วงปี 1960s นอกจากการก่อตั้ง WWF จึ้นมา ต่อมาก็เข้าสู่มิติของกฎหมาย เดิมการอนุรักษ์นั้นจะเน้นไปที่การห้ามล่าสัตว์ การอนุรักษ์ habitat ที่อยู่อาศัยของสัตว์ รวมไปถึงป่าไม้ แหล่งน้ำ บทนี้เล่าถึง Rachel Carson นักเขียนหญิงที่อินเรื่องสัตว์ทะเล แต่เธอเริ่มสนใจผลกระทบที่ยาฆ่าแมลง DDT มีต่อสัตว์ที่นอกไปจากแมลง เธอสืบค้นและพบผลยืนยันจากหลายแหล่งว่า มี side effect ต่อสิ่งมีชีวิตรุนแรง เช่น นก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก ป่วยและตายไปจำนวนมาก เมื่อได้รับสาร DDT แต่กระนั้นก็ยังมีการฉีดพ่น DDT ทางอากาศทั้งในพื้นที่เกษตรกรรม ในป่า และลงแม่น้ำเป็นปกติ โดยนกที่ได้รับสารนี้เข้าไปในระบบจะออกไข่ที่ผนังบางเกินไป ไม่สามารถฟักตัวได้ Rachel เขียนหนังสือชื่อ Silent Spring ที่กลายเป็นหนังสือคลาสสิกด้านการอนุรักษ์ มีคนอ่านเป็นล้าน (หนึ่งในผู้อ่านเล่มนี้คือ John F. Kennedy) เธอทุ่มเททั้งชีวิตเพื่อการรณรงค์เรื่องนี้ ในที่สุดการใช้ยาฆ่าแมลง DDT ก็กลายเป็นสิ่งที่ห้ามใช้ เป็นการผลักดันเชิงนโยบาย

- มาสู่ยุค 80’s แม้คนจะตระหนักรู้ว่าการอนุรักษ์สัตว์เป็นเรื่องจำเป็นต่อระบบนิเวศและความเป็นอยู่ของมนุษย์ กระนั้นการอนุรักษ์ก็ยังไม่มีวิธีการชัดเจนนัก ในระบบนิเวศอันซับซ้อน แน่นอนมันยากมากที่จะรู้ว่าจริงๆ มีสัตว์เหลือเท่าไหร่ และต้องเหลือเท่าไหร่ และการอนุรักษ์ต้องใช้ resource มากแค่ไหนถึงจะปลอดภัย สิ่งเหล่านี้ เต็มไปด้วยคำถามมากมายที่ตอบได้ยาก กระทั่งเกิดการพัฒนาวิชาการสาย Conservation Biology โดย Michael E. Soulé และเรียกร้องให้นักวิชาการสายทฤษฎี มาช่วยกันคิดหาวิธีนำความรู้มาใช้เพื่อรักษาพันธุ์สัตว์ได้จริงๆ เสียทีและปัจจุบันก็กลายเป็นองค์ความรู้สำคัญในการอนุรักษ์สัตว์
- ‘สิ่งที่น่าเศร้าไม่ใช่ความตาย แต่คือการที่ไม่มีโอกาสได้เกิด มันคือจุดสิ้นสุดของความเป็นไปได้’ ‘Death is one thing, but an end to births is another’
ออกจากโลกตะวันตกไปสำรวจพื้นที่อนุรักษ์ที่นามิเบีย ในทวีปแอฟริกา เริ่มเดิมทีเขตอนุรักษ์ในนามิเบีย คือคือเขตที่มีเจ้าหน้าที่คนขาวคอยกันไม่ให้คนท้องถิ่นลักลอบล่าสัตว์ Garth Owen Smith เข้าไปพร้อมกับความคาดหวังจะรักษ์สัตว์ รักษ์ป่า แทบจะหมดหวังเพราะ พบว่าวิถีชีวิตชาวบ้านแม่งล่าสัตว์ ฆ่าสิงโต ค้าสัตว์ ล้มช้างกันเป็นนิจ สภาพพื้นที่ดินแล้งกันดารมาก คือคนเขาจะอดตายห่าอยู่แล้ว บอกให้เขาอย่าล่าสัตว์ ชาวบ้านก็ถามกลับว่าแล้วเอาอะไรแดก เขาค่อยๆ พัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน เขาบอกว่า มันง่ายมากที่จะพูดเรื่องการอนุรักษ์สัตว์เมื่อเราไม่อดอยาก ไม่ยากจน ไม่หิวโหย เลยเริ่มเกิดการอนุรักษ์แบบ community-based conservation ผลักดันโดยชุมชนขึ้นมา ถ้าสนใจเรื่องนี้ชวนไปอ่านบทความเธอเรื่อง Miracle of the Common
หลายคนมองแนวทางการอนุรักษ์โดยไม่มีคนพื้นเมืองอยู่ในสมการ ชาวบ้านที่ต้องอยู่ใกล้สิงโต อาจไม่ได้รักสิงโตเหมือนเราที่ดูไลออนคิงอยู่ที่บ้าน เพราะเสือดาวสิงโตแม่งมาแย่งกินวัวที่เขาเลี้ยง ฝูงช้างเข้ามาทำลายที่ดินที่ปลูก รัฐบาลก็ยังจะลงโทษเมื่อเขาต้องล่ากวางเพื่อเป็นอาหาร คือคนแม่งจะอดตายอยู่แล้วอะใครจะมารักสัตว์ เข้าใจวิถีชีวิตชองคนท้องถิ่นและปรับให้เหมาะสม โดยแต่ละสถานที่นั้นต่างกัน
หลายอย่าง แม้จะดูน่ากลัว น่ากรี๊ดสำหรับคนเมืองอย่างเราๆ ที่ทำไมเขตอนุรักษ์สัตว์ถึงมีการทำโควต้าให้คนล่าสัตว์ได้ล่ะ แต่อย่าลืมว่า เออเราแม่งรักสัตว์ น้องน่ารักจัง เพราะเราไม่ต้องอยู่ร่วมกับพวกมัน เราแค่นั่งดูรูปอยู่บ้าน
โมเดลของ Owen Smith พัฒนาจากการเสียงคนพื้นที่จริงๆ ให้สิทธิในการตัดสินใจ แม้จะขลุกขลักในตตอนต้น ถกเถึยงกันว่าอะไรทำได้ทำไม่ได้ สร้างกฎของกลุ่มที่ตกลงถกเถียงกัน มีการหยิบวิธีดั้งเดิมกลับมาใช้ เกิดเป็นการดูแลพื้นที่กันเอง และจัดสรรโควต้าเกิด ที่แต่ละพื้นที่ต่างกันตามฉันทามติของคนพื้นที่ กลายเป็นโมเดลที่สำเร็จมาก คือสร้างรายได้ให้ชุมชนและสัตว์ก็เพิ่มด้วย
นอกจากนี้ ยังมีแนวทางการอนุรักษ์ที่แอดวานซ์อีกมากๆๆ ที่กำลังทดลองอยู่ หนังสือเล่มนี้เขียนไว้เป็นน้ำจิ้มนิดๆ หน่อยๆ ต้องไปตามหาอ่านต่อถ้าสนใจ
สิ่งที่ชอบมากๆๆ คือเราได้เห็นการพัฒนาของแนวคิดตามยุค ผู้เขียนได้เล่าหลายมุมและบอกข้อดีข้อเสีย แถมยังพาเราเช็คว่า แนวคิดที่ผู้ริเริ่มได้ทำไว้ ปัจจุบัน Legacy เหล่านี้ก็ยังอยู่ไหม หรือพัฒนาไปเป็นอะไร เปรียบเทียบแนวคิดบทก่อนกับบทนี้ตลอด หลายสิ่งหลายอย่างทำแล้วก็ยังอยู่ดี ค่อยรู้สึกว่า เออทำ แล้วคุ้มมาก ไม่เหมือนโครงการความดีอิหยังวะ สรุปแก้ปัญหาอะไร ยังใช้ได้อยู่ไหม อิมแพคคืออะไรนอกจากภาพ 5555
อ่านแล้วก็เห็นการต่อยอดมาเรื่อยๆ การตีกันระหว่างทาง และแนวคิดหลายสายที่เวิคคนละแบบ กับคนละเวลา อ่านแล้วก็ทำให้อยากรู้อีกหลายอย่าง เปิดความเป็นไปได้หลายๆ อย่างที่เราไม่เคยนึกมาก่อน ประทับใจมากเลย
อ่านเพิ่มเติมถ้าสนใจ
- https://www.thoughtco.com/linnaean-classification-system-4126641
- https://www.smithsonianmag.com/science-nature/how-mrs-edge-saved-birds-180977167/
- https://news.mongabay.com/2020/04/tribute-to-garth-owen-smith-african-conservationist-commentary/
- https://e360.yale.edu/features/rachel_carsons_critics_keep_on_but_she_told_truth_about_ddt