Exhalation: Stories หนังสือรวมเรื่องสั้นไซไฟหลายๆ เรื่องโดย Ted Chiang แต่ละเรื่องก็จะมีตีม เวลา สถานที่ สถานการณ์อันหลากหลายมากๆ บางเรื่องก็ยาวเป็นร้อยหน้า บางเรื่องก็สั้นมากเชิงทดลองหน่อย ถ้าใครชอบซีรีส์ Black Mirror หรือ Love Death Robot น่าจะชอบ รู้สึกว่าร่วมสมัยมากๆ ไม่เชย ไม่มาโช ไม่มีอาวุธหรือ superpower ไม่มีสงครามข้ามดา 🤖 🤖 🤖 🤖
ความประทับใจคือ Ted Chiang เขียนไซไฟที่สุดแสนจะ Humanistic และ Intimate มากๆ ชวนมองเทคโนโลยี เวลา อวกาศในสเกลระดับที่มากระทบบุคคล ความสัมพันธ์ แทรกความสงสับ ความรู้สึกกลัวตาย หรือความรู้สึกผิด นิยายของเขา ก้าวผ่านตีมโลกล่มสลายถล่มทลาย เอเลี่ยนบุก หุ่นยนต์ครองเมือง แบบนิยายไซไฟคลาสสิกมากมายที่เราคุ้นเคย ส่วนอธิบายเทคโนโลยี หลักการก็ละเอียดดี สมที่เรียน Com Sci มา 🤖
ขอเล่าสรุปๆ ไปตามบทที่จำได้ แต่ไม่ครบทุกอันบางอัน ขี้เกียจ หรือสรุปยากก็ขอข้าม (ขี้เกียจรีเช็ค) เอาตามความเข้าใจ 555 จริงๆ ไม่ได้จะ review อะไร บันทึกเก็บไว้ เพราะประทับใจและกลัวลืม
- The Merchant and the Alchemist ⭐️⭐️⭐️⭐️ เกี่ยวกับการย้อนเวลากลับไปเปลี่ยนอดีต การกลับไปคุยกับตัวเองในวัยหนุ่ม แต่เรื่องราวประตูมิติเกิดขึ้นในยุคตะวันออกกลาง ตีมอาหรับราตรีมากๆ มีโจรทะเลทราย มีกำแพงถล่ม การสูญเสียคนรัก การที่เราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอดีต หรือโชคชะตาที่ลิขิตไว้ได้ แม้จะพยายามมากก็ตาม เป็นเรื่องเปิดที่เบาๆ ดี เหมือนอ่านนิทาน ถ้าเป็นเรื่องยาวก็น่าจะสนุกดีนะ

- The Lifecycle of Software Objects ⭐️⭐️⭐️⭐️⭐️ ชอบเรื่องนี้มากๆ เลย ยาว 120 หน้าเลย แต่เราอ่านรวดเดียวจบ แต่เราอ่านไปสองรอบเลย ตัวละครหลักเคยทำงานดูแลสัตว์ ก่อนจะได้งานใหม่เป็นเทรนเนอร์สัตว์เลี้ยง AI ในโลกเสมือน เราก็ได้เห็นสิ่งมีชีวิตค่อยๆ พัฒนาไปเรื่อยๆ จนมีความซับซ้อน สามารถ integrate กับ hardware ได้ เกิดความผูกพัน ในขั้นต้น เราได้เห็นเบื้องหลังของการเกิดขึ้นและดับไปของซอฟต์แวร์หรือเกมใดๆ การเข้าสู่ช่วงฮิต การเกิดปัญหา และช่วงโรยรา การย้ายเซิร์ฟเวอร์ การเกิดคอมมิวนิตี้ sub-cultute ต่างๆ ขึ้นมา แต่ที่ประทับใจที่สุด ประเด็เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ที่หากพัฒนาไปเรื่อยๆ ถ้าวันนึงมันเติบโต มีชีวิต จิตใจ มีตัวตน มีสติปัญญา มีความรู้สึกอันซับซ้อน เราจะยอมอนุญาตให้มันมีสิทธิทางกฎหมายและเลือกอนาคตของตัวเองไหม เราจะยอมให้มันเลือกขายร่างกายเป็นวัตถุทางเพศหาเงินเลี้ยงตนเองไหม อินมาในฐานะคนทำงานสายเทค (แต่ไม่ได้เทคจ๋า เห็นการเกิดและโรยราของผลิตภัณฑ์) เรามักมองว่า software เหมือนเป็นของฟรี ไม่มีต้นทุน สร้างแล้วจะอยู่ตลอดไป แต่มูลค่าของการอัปเดตให้ยังใช้งานร่วมกับ device ล่าสุดได้ มีค่ารักษา ค่า maintenance ค่าปรับปรุง ทั้งหมดนี้มันมีค่าใช้จ่ายและต้องลงแรงทั้งสิ้น คือมีหลายเรื่องให้คิดมากๆๆๆ มีแนวคิดการพัฒนา AI ในสาย General Intelligence และ Super Intelligence สนุกมากๆๆๆ แว่บแรกนึกถึงประสบการณ์เลี้ยงหมาของตัวเอง ความเอ็นดูในเด็กน้อยหรือหมาน้อยต่างๆ น่ารักๆ อ่านไปอ่านมามันคือได้เห็นพัฒนาการของทารกที่กำลังจะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ มีคำถาม มีความสงสัย มีความต้องการ อ่านแล้ว จำลองประสบการณ์การเลี้ยงลูกที่มีทั้งความตลกขบขัน ความเครียดและ frustration อยากให้ลูกได้รับประสบการณ์และ full potential ที่จะเติบโตในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและปลอดภัย มันเลย fulfilling มากๆๆๆ จริงๆ เพราะเราคงไม่มีลูก แต่ชอบคิดถึงประสบการณ์มนุษย์เหล่านี้ 555 ชอบจนไปหา pdf มาแล้วส่งให้เพื่อนอ่าน
- Dacey’s Patent Automatic Nanny ⭐️⭐️⭐️ อันนี้มาโผล่กลิ่นอายยุควิคตอเรียน แปลกดี ว่าด้วยนักวิทยาศาสตร์ผู้ไม่เชื่อใจในพี่เลี้ยงเด็กที่เป็นมนุษย์ เลยสร้างออโตมาต้าเลี้ยงเด็กขึ้นมาแล้วก็ทดลองกับลูกของตัวเองและผลที่ตามมาก็ค่อนข้างแย่ เช่น ลูกของเขาไม่สามารถเชื่อมต่อมี response กับมนุษย์ได้ แต่ชินชากับการสื่อสารผ่าน machine interface อ่านโน้ตตอนจบ คือได้แรงบันดาลใจมาจาก B.F. Skinner ผู้เคยพูดว่า “When you are tempted to pet your child, remember tht mother love is a dangeroid instrument” ลูกของเขาทุกคนโตขึ้นมากลายเป็นซึมเศร้า สิ่งนี้ทำให้คิดถึง Text-To-Speech Euphonia

- The truth of fact of feeling, the fact of feeling ⭐️⭐️⭐️⭐️⭐️ อันนี้มีความ Black Mirror มากเลย ใจกลางเรื่องคือเทคโนโลยีใหม่ที่คอยบันทึกเหตุการณ์ในชีวิตเราไว้แม่นยำ ให้เราสามารถกลับไปย้อนดู replay ได้อย่างละเอียด และความทรงจำที่แม่นยำบางครั้งก็ทำร้าย 🥲 หลายๆ ครั้ง คนเราต่างสร้างความทรงจำเทียมขึ้นมาเพื่อไถ่บาปให้ตัวเองเพื่อดำรงชีวิตต่อไป เพื่อเข้าข้างตัวเอง เพื่อบอกตัวเองว่าเราไม่ได้เป็นคนที่แย่ขนาดนั้น 555 แล้วผู้เขียนเอามาผูกกับความสัมพันธ์พ่อลูกที่พ่อนั้นจำเหตุการณ์หนึ่งในชีวิตผิดเพี้ยนมาตลอด เรื่องนี้เขียนขนานไปพร้อมกับอีกเหตุการณ์ คือของ conflict ระหว่างวัฒนธรรม คนในหมู่บ้านซึ่งความทรงจำนั้นมาจากการบอกเล่า หรือวัฒนธรรมมุขปาฐะ oral culture ในโลกที่ความจริงหรือประวัติศาสตร์นั้นผิดเพี้ยนยืดหยุ่นได้เสมอเพื่อรักษาความสัมพันธ์และการเมือง ต้องมาปะทะกับแนวคิดความทรงจำแม่นบำ ผ่านการบันทึกและการเขียนแบบตะวันตก เกิดกาเกี่ยววพันกับการล่าอาณานิคม ซึ่งเราชอบพาร์ทนี้มากกว่าพาร์ทดราม่าพ่อลูกอีก 555 สนุกมากเลย
- Anxiety is the dizziness of freedom ⭐️⭐️⭐️⭐️ เรื่องวนเวียนอยู่กับ Device ชื่อ Prism ผลิตภัณฑ์ควอนตัมคอมพิวเตอร์พกพา ที่ทำให้เราสามารถสื่อสารกับตัวเราเองใน parallel life สาขา/ไทม์ไลน์ของจักรวาลคู่ขนานได้ โดยสามารถ text ส่งเสียง ส่งภาพ ต่างๆ การเกิดขึ้นของสิ่งนี้ทำให้เราได้มารีวิวเหตุการณ์สำคัญในชีวิตที่เกิดขึ้นว่าเราในแต่ละเวอร์ชั่นตัดสินใจต่างกันอย่างไร ซึ่งเครื่องนี้ทำให้คนเป็นทุกข์ หมกมุ่น หรือไม่พึงใจในชีวิต คนมักใช้กับความรู้สึกผิดหรือความเสียดายในชีวิต จนเกิดกลุ่มบำบัดเพื่อรักษาจากการใช้เครื่องนี้ เช่น คนที่ไม่ได้แต่งงานเกิดสงสัยใคร่รู้ว่ามีตัวฉันในจักรวาลใดที่แต่งงานแล้วมีความสุขมั่งไหม มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นในแต่ละเวอร์ชั่น คนที่ตายนั้นเป็นคนละคนกัน เราจะอิจฉาตัวเราที่รวยและประสบความสำเร็จบ้างไหม หากเราทำดีในทุกภาค ภาคนี้จะเป็นคนร้ายๆ จะทดแทนเฉลี่ยกันไปได้ไหม ฯลฯ สนุกดีๆๆ ชีวิตเต็มไปด้วยสิ่งที่เราเลือกหรือไม่ได้เลือก เราต่างอยากเห็นเวอร์ชั่นเราที่ตัดสินใจต่างกันไป ออกไปเป็นสาขาต่างๆ มากมาย ไม่จบไม่สิ้น ชอบคำว่า paraself

อาชีพของ Ted Chiang ก่อนจะมาเป็นนักเขียนคือเป็น Technical Writer ของซอฟต์แวร์ และเขาเรียนจบด้าน Computer Science เลยเข้าใจและคุ้นเคยกับเทคโนโลยีเป็นอย่างดี ชอบมากที่เขาจัดเต็มมากเวลาอธิบายเรื่องเทคโนโลยีใหม่ต่างๆ ทั้งฟังก์ชั่นเชิงกายภาพ การทำงาน หลักการ เอานำแนวคิดวิทยาศาสตร์ต่างๆ มาผนวก และชวนเราไปดูผลลัพธ์ หรือชวนคิดว่าถ้าเราสร้าง xxx ได้สำเร็จ แล้วจะเกิด effect กับเรามนุษย์อย่างไรได้บ้าง เราจะมองตัวเองเหมือนเดิมไหม เราจะปฏิสัมพันธ์กับเทคโนโลยีใหม่นี้อย่างไร ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์และชีวิตประจำวันของเราไหม หรือกระทั่งตัวตน/ความเป็นมนุษย์ของเราจะสะเทือนอย่างไร เพลินมาก
เขาสนใจการใช้ thought experiment เล่าผ่านนิยายไซไฟได้แยบคาย เพลิดเพลิน และที่สำคัญคือไม่ได้แห้งแล้ง เหตุผลจ๋า บางอันก็มีความนิทานหน่อยๆ ไม่ได้สรรเสริญความเป็น human of reasons แต่ใช้ความเป็นไปได้ของไซไฟมาช่วยขยายความเป็น human of emotions ของเรา เมื่อปะทะกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้เกิด dilemma ทางศีลธรรม และกระทบความสัมพันธ์ในชีวิตประจำวันของคนทั่วๆ ไป
อีกอย่างที่ชอบคือเรารู้เลยว่า ผู้เขียนสนใจทั้งประวัติศาสตร์และอนาคต สนใจพหุวัฒนธรรม เราได้เห็นตีมอาหรับราตรี หมู่บ้านชนเผ่าอันห่างไกลก่อนตะวันตกจะเข้ามาจนเกิดการปะทะทางความคิดและวิธีการเก็บรักษาความทรงจำ แวะไปสะท้อนยุควิคตอเรียน มองโลกและการสูญพันธุ์ผ่านมุมมองของนกแก้ว มองกายวิภาคศาสตร์หากเรามีระบบภายในร่างกายที่ต่างไป ฯลฯ สุดท้ายเลยได้เกิดนิยาย scifi หลายเรื่องที่ soulful และ intimate มากๆ เก่งๆ ปรบมือออๆ แต่ละเรื่องก็คือแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง หลากหลายมากๆ ❣️
ช่วงก่อนหน้านี้ เราเพิ่งอ่าน Do Android Dreams of Electric Sheep? ของ Philip K. Dick จบไป (ซึ่งสนุกเร้าใจกว่าที่คิด นึกว่าจะนิ่งๆ เบื่อๆ หนืดๆ เพราะมันแอบนานแล้ว ) เราเองเติบโตมากับนิยายไซไฟแต่ก็ห่างหายไปนาน อ่านค้างไว้ก็มากมี 555 รู้สึกว่าเออ ถึงเวลาแล้วที่เราอยากจะ Catch Up กับไซไฟที่ร่วมสมัย
โดยรวมก็สนุกมากเลย เปิดโลก เปิดจินตนาการ อยากอ่านเรื่องอื่นของเขาเลยแต่ขอแวะไปอ่านในกองดองก่อนนนน เยอะมากกกก ต้องเขียนเก็บไว้เพราะไม่งั้นลืมแน่นอนนนน ชวนให้คนที่ไม่ชินกับไซไฟมาลองอ่านดู มันไม่กีคหรือเนิร์ดหุ่นยนต์เกินไปแน่นอน มีความเป็นมนุษย์มากกกกๆ ชวนให้คิดหลายๆ เรื่อง 🙂