Author: clumsycat

Exhalation: Stories นิยายเรื่องสั้นไซไฟที่มีจิตใจ ใกล้ชิดสัมผัสความเป็นมนุษย์ ชวนคิดถึงความเป็นไปได้อันเกิดจากเทคโนโลยีใหม่ๆ ✨

Review

ความประทับใจคือ Ted Chiang เขียนไซไฟที่สุดแสนจะ Humanistic และ Intimate มากๆ ชวนมองเทคโนโลยี เวลา อวกาศในสเกลระดับที่มากระทบบุคคล ความสัมพันธ์ แทรกความสงสับ ความรู้สึกกลัวตาย หรือความรู้สึกผิด นิยายของเขา ก้าวผ่านตีมโลกล่มสลายถล่มทลาย เอเลี่ยนบุก หุ่นยนต์ครองเมือง แบบนิยายไซไฟคลาสสิกมากมายที่เราคุ้นเคย

Beloved Beasts: Fighting for Life in an Age of Extinction 🦣🦏🐅🦅 ว่าด้วยความเป็นมาและแนวคิด วิธีการอันหลากหลายของการอนุรักษ์สัตว์

Review

ประวัติศาสตร์ของแนวคิดและวิธีการอนรักษ์สัตว์ 'สิ่งที่น่าเศร้าไม่ใช่ความตาย แต่คือการที่ไม่มีโอกาสได้เกิด มันคือจุดสิ้นสุดของความเป็นไปได้' 'Death is one thing, but an end to births is another'

เพราะเราไม่อยากถูกจำกัดอยู่แค่ในจิตใจของเราเอง เราจึงต้องอ่านเรื่องราวชีวิตของคนอื่น ✍️ 97,196 WORDS: ESSAYS – Emmanuel Carrère

Review

📖 97,196 WORDS: ESSAYS– Emmanuel Carrère / แปลโดย John Lambert อ่านจนจบในเวลาอันรวดเร็ว [คือเร็วแล้วเทียบกับเล่มอื่นที่ไม่ค่อยคืบ 555 กองๆ เอาไว้มากมาย] สารภาพว่าจำชื่อหนังสือและนักเขียนไม่ได้สักที จำผิดเป็น 97,316 ตลอด 😂 หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือรวมเรียงความ ทั้งหมด 20 บท = 97,196 คำพอ ซึ่งถือว่ามาในเวลาที่ถูกต้องกับชีวิต ช่วงชีวิตทศวรรษก่อนหน้านี้ เราอ่าน Non-Fiction เยอะมากๆ แต่ก็มักจะอ่านไม่จบ อ่านรีบๆ เพราะด้วยงานต้องทำงานเกี่ยวกับข้อมูล หรืออ่านแบบต้องเอาไปเขียน ฯลฯ บางทีก็อ่านแค่เอาเรื่อง ประเด็นน่าสนใจ อุ๊ย เรื่องนี้ใหม่ แต่มักไม่ได้รู้สึกประทับใจวิธีการเขียนอะไรขนาดนั้น ดีใจมากๆ ที่เจอ Non-Fiction ที่ไม่ได้แห้งเหือดไร้จิตใจ วิธีเขียนเขาแซ่บมากจนงง เขียนเหมือนไปสิงร่างคนอื่นแล้วกลับมานั่งเขียน พอมันดีมาก ก็คือมาสิงเราต่อขณะอ่าน เราไม่ได้รู้สึกถึง Intimacy จากการเขียนมานานเหลือเกิน เลยอ่านจบต้องเขียนถึงเลย ❤️ Carrère [อ่านว่าอะไร กลัวตัว R ภาษาฝรั่งเศสมาก ไม่มีปัญญาออกเสียง 😂 ] เป็นนักเขียน non fiction ฝรั่งเศส ไปสำรวจชีวิตคนอื่นเอามาเขียนเล่าต่อ เขาไม่ใช่สายสัมภาษณ์แนวถอดคำมาตรงๆ แต่เขานำมนุษย์ที่ไปพบเจอมาเรียบเรียงใหม่เป็น essay / prose ขนาดยาว บางอันก็ออกมาเป็นแนว […]

Where are you ? Where are you ? What does love look like ? ว่าด้วย emotional responsiveness

References

ฟัง podcast ว่าด้วยกลไกความรัก โดยนักบำบัด Susan M. Johnson ใน The Knowldge Project สรุปไว้นานแล้วในทวิตเตอร์ รู้สึกว่ามีประโยชน์เลยเขียนไว้ในนี้อีกรอบ พื้นฐานสำคัญของความรักคือการมี emotional responsiveness การส่งสัญญาณตอบสนองทางอารมณ์ระหว่างกัน หากรักใครเราจะส่งสัญญาณหาคนนั้น หวังว่าเขาจะ respond กลับมา คนที่มาจากครอบครัวที่อบอุ่น เคยเจอกับความรักที่ดี จะนึกออกว่าความรู้สึกเชื่อใจนี้มันรู้สึกประมาณไหน 🥺  คนมาจากพื้นเพที่ไม่ได้รับความรักต้องตามหาสิ่งที่ยังนึกไม่ออกว่ามันต้องรู้สึกแบบไหน 🧐 บางที คนรักไม่ต้องแก้ปัญหา แค่รับฟังและสร้างความเชื่อใจ คอย respond ตอบกลับว่าให้แน่ใจว่ายังอยู่นะ ความสัมพันธ์สั่นคลอนคือเมื่อใครสักคนรู้สึกว่าไม่ได้รับการตอบสนอง ไม่ถูกรับฟัง เขายิ่งก่อดราม่า พูดเสียงดัง แสดงท่าทีรุนแรงเพื่อเร้าให้อีกฝั่งตอบสนอง  แต่หากอีกฝั่งเลือกนิ่งเงียบ เมินเฉย เลี่ยงความขัดแย้ง ก็ยิ่งไม่มีสัญญาณตอบกลับ ยิ่งทำให้อีกฝั่งรู้สึกเหมือนเป็นบ้า การเงียบเฉยรอให้เวลาคลี่คลายเลยไม่ใช่ strategy ที่ดีในการรักษาความสัมพันธ์ 🥲 จุดที่อันตรายที่สุดในความสัมพันธ์คือ เมื่อใครคนใดคนหนึ่งเลิกส่งสัญญาณไปหาอีกคน เขาเลือกจะ shut down หรือนิ่งเฉยไปเลย คือจุดที่เขาถอดใจไม่แสวงหากันต่อไป อาจเพราะเคยส่งแล้วไม่มีสัญญาณตอบกลับ หรือทำไรไปก็ไม่มีผล พูดไปก็เท่านั้น เขาไม่อยากเสี่ยงโดนเมินเฉยอีกต่อไป จึงเริ่มหาคนอื่นหรือเสาะหาวิธีอื่นในการสร้างการเชื่อมต่อ มนุษย์นั้นโหยหาการถูกสัมผัส การเชื่อมต่อ และสร้างความมั่นใจ เวลาผ่านไปคือจะไปสู่จุดนึงที่ไม่รู้สึกอะไรอีกต่อไป คือไม่โหยหา ไม่รอคอย ไม่เชื่อใจว่าคนรักนั้นเป็นที่พึ่งพาทางอารมณ์และจิตใจได้อีก จุดนี้คนที่หมดรักจะไม่โกรธไม่หงุดหงิดอีกแล้ว แต่ไม่ไว้ใจวางใจ และไม่แสวงหากันอีกต่อไป แล้ว the connection is lost. ลาก่อยยย […]