All posts filed under: References

Where are you ? Where are you ? What does love look like ? ว่าด้วย emotional responsiveness

References

ฟัง podcast ว่าด้วยกลไกความรัก โดยนักบำบัด Susan M. Johnson ใน The Knowldge Project สรุปไว้นานแล้วในทวิตเตอร์ รู้สึกว่ามีประโยชน์เลยเขียนไว้ในนี้อีกรอบ พื้นฐานสำคัญของความรักคือการมี emotional responsiveness การส่งสัญญาณตอบสนองทางอารมณ์ระหว่างกัน หากรักใครเราจะส่งสัญญาณหาคนนั้น หวังว่าเขาจะ respond กลับมา คนที่มาจากครอบครัวที่อบอุ่น เคยเจอกับความรักที่ดี จะนึกออกว่าความรู้สึกเชื่อใจนี้มันรู้สึกประมาณไหน 🥺  คนมาจากพื้นเพที่ไม่ได้รับความรักต้องตามหาสิ่งที่ยังนึกไม่ออกว่ามันต้องรู้สึกแบบไหน 🧐 บางที คนรักไม่ต้องแก้ปัญหา แค่รับฟังและสร้างความเชื่อใจ คอย respond ตอบกลับว่าให้แน่ใจว่ายังอยู่นะ ความสัมพันธ์สั่นคลอนคือเมื่อใครสักคนรู้สึกว่าไม่ได้รับการตอบสนอง ไม่ถูกรับฟัง เขายิ่งก่อดราม่า พูดเสียงดัง แสดงท่าทีรุนแรงเพื่อเร้าให้อีกฝั่งตอบสนอง  แต่หากอีกฝั่งเลือกนิ่งเงียบ เมินเฉย เลี่ยงความขัดแย้ง ก็ยิ่งไม่มีสัญญาณตอบกลับ ยิ่งทำให้อีกฝั่งรู้สึกเหมือนเป็นบ้า การเงียบเฉยรอให้เวลาคลี่คลายเลยไม่ใช่ strategy ที่ดีในการรักษาความสัมพันธ์ 🥲 จุดที่อันตรายที่สุดในความสัมพันธ์คือ เมื่อใครคนใดคนหนึ่งเลิกส่งสัญญาณไปหาอีกคน เขาเลือกจะ shut down หรือนิ่งเฉยไปเลย คือจุดที่เขาถอดใจไม่แสวงหากันต่อไป อาจเพราะเคยส่งแล้วไม่มีสัญญาณตอบกลับ หรือทำไรไปก็ไม่มีผล พูดไปก็เท่านั้น เขาไม่อยากเสี่ยงโดนเมินเฉยอีกต่อไป จึงเริ่มหาคนอื่นหรือเสาะหาวิธีอื่นในการสร้างการเชื่อมต่อ มนุษย์นั้นโหยหาการถูกสัมผัส การเชื่อมต่อ และสร้างความมั่นใจ เวลาผ่านไปคือจะไปสู่จุดนึงที่ไม่รู้สึกอะไรอีกต่อไป คือไม่โหยหา ไม่รอคอย ไม่เชื่อใจว่าคนรักนั้นเป็นที่พึ่งพาทางอารมณ์และจิตใจได้อีก จุดนี้คนที่หมดรักจะไม่โกรธไม่หงุดหงิดอีกแล้ว แต่ไม่ไว้ใจวางใจ และไม่แสวงหากันอีกต่อไป แล้ว the connection is lost. ลาก่อยยย […]

ใครจะเปลี่ยนหลอดไฟให้เราในวันที่เราแก่ชราและเปลี่ยนเองไม่ไหว?

References

คำถามสำคัญ 3 ข้อให้เราลองนึกถึงชีวิตเราเมื่อแก่ตัวไป คำถามง่ายๆ นี้อาจทำให้เราเห็นภาพตัวเองยามแก่ชรา และวางแผนการเกษียณตามชีวิตที่เราอยากจะใช้ในช่วงเวลาที่เหลือ

River of Consciousness, 2017 Oliver Sacks

References / Review

รวมเรียงความของ Oliver Sacks ตีพิมพ์หลังจากเขาเสียชีวิต หลายคนมองวิทยาศาสตร์ในแง่มุมว่าไร้หัวใจ แต่เราไม่เคยรู้สึกแบบนั้นเลย ประวัติศาสตร์หรือกระบวนการวิทยาศาสตร์ หรือกระทั่งจุดมุ่งหมายของวิทยาศาสตร์นั้นเป็นไปด้วยความสนใจในโลก และเข้าใจข้อจำกัดของเรา Oliver Sacks คือผู้เขียนคนสำคัญในชีวิต เขาทำให้เรามองหลายสิ่งเปลี่ยนไป ชุบชีวิตความสนใจในธรรมชาติ วิทยาศาสตร์ เข้าใจระบบ การอ่านหินและมองพืช ไม่ใช่สิ่งน่าเบื่อ แค่เป็นดินแดนที่เรายังไม่มีความรู้ ยังมีอะไรอีกมากในความทรงจำของโลก และเวลาในชีวิตนั้นน้อยเกินไปกว่าจะรู้และเข้าใจได้อย่างที่เราปรารถนา Darwin and The Meaning of Flowers เล่าถึง ชาร์ลส์ ดาร์วินในฐานะผู้หลงใหลต้นไม้ พืชดอกที่ส่งผลต่อวิวัฒนาการของแมลงเต่าทอง ชอบประโยคที่ว่า “Darwin always had a special tender feeling for plants” ความสนใจในพืชพรรณเป็นรากสำคัญของแนวคิดทฤษฎีวิวัฒนาการ  ดาร์วินเชื่อว่าการสังเกตที่ดีเกิดจากการชอบตั้งทฤษฎี ความงามของต้นไม่ไม่ใช่แค่ในแง่ความสวยงาม แต่ในเชิงการใช้สอย การอยู่รอด การปรับตัวที่ทำงานอย่างแข็งขัน กล้วยไม้ไม่ใช่เพียงสิ่งประดับตกแต่ง แต่คือจินตนาการความคิดสร้างสรรค์ของธรรมชาติ ไม่มีอะไรในโลกธรรมชาติเป็นเหตุเป็นผล ยกเว้นว่ามีแสงแห่งวิวัฒนาการส่องสำรวจ จัดระเบียบ เรียบเรียง และแสวงหาความหมายในโลกที่กระจัดกระจาย ชีวิตบนโลกนั้นสืบย้อนไปยาวนานหลายพันล้านปี เราได้ฝังประวัติศาสตร์ของสิ่งเหล่านี้ไว้ในกายของเรา พฤติกรรม พันธุกรรม สัญชาตญาณ ไม่เคยหยุด ไม่เคยซ้ำ และไม่เคยกลับหลัง เมื่อสิ่งใดสูญพันธุ์ สายแห่งพันธุกรรมสาขานั้นก็ตัดฉับลงไปเพียงเท่านั้น ธรรมชาติไม่มีแผน ไม่สร้างผัง ไม่มีทิศทาง ไม่มีจุดมุ่งหมาย ทั้งหมดไม่ไร้ความหมายภายใต้แสงไฟวิวัฒนาการที่ส่องมองดู make sense under a light of evolution 🙂 […]

humans encounter as phenomena ☀️

Quotes / References

จงมองคนให้เป็นปรากฏการณ์ มองอย่างเป็นกลาง เหมือนเรามองดาวหาง หรือสังเกตชนิดพืชพรรณ มีคนทุกแบบบนโลกนี้ คนที่หลากหลายทำให้ชีวิตอุดมสมบูรณ์และน่าสนใจ ทำงานกับสิ่งที่เขาให้เราได้ แทนที่พยายามจะเปลี่ยนเขา ทำให้เกมการเข้าใจคนเป็นเรื่องสนุกเหมือนการไขปริศนา นี่คือความขบขันแห่งการเป็นคน มนุษย์นั้นไร้เหตุผล คุณก็เหมือนกันแหละ ยอมรับมันให้ได้ — The Law of Human Nature | Robert Greene